Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13238
Title: Internal Supervision of Schools under Si Sa Ket Primary Educational Service Area Office 3
การนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ศรีสะเกษ เขต 3
Authors: PHAKKHAPON LERTCHAIWANICH
ภัคภร เลิศชัยวาณิช
Koolchalee Chongcharoen
กุลชลี จงเจริญ
Sukhothai Thammathirat Open University
Koolchalee Chongcharoen
กุลชลี จงเจริญ
[email protected]
[email protected]
Keywords: การนิเทศภายใน  สถานศึกษา  ประถมศึกษา
Internal supervision
School
Primary education
Issue Date:  14
Publisher: Sukhothai Thammathirat Open University
Abstract: The objectives of this study were (1) to study the condition of internal supervision of schools under Si Sa Ket Primary Educational Service Area Office 3; and (2) to compare the conditions of internal supervision of schools under Si Sa Ket Primary Educational Service Area Office 3 as classified by the school size and the teacher’s teaching experience.The research sample consisted of 332 teachers in schools under Si Sa Ket Primary Educational Service Area Office 3 during the 2024 academic year, obtained by stratified random sampling based on the school size and then simple random sampling.  The sample size was determined based on Taro Yamane’s sample size formula.  The employed research tool was a rating scale questionnaire on internal supervision in the school, with reliability coefficient of .98.  Statistics employed for data analysis were the frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, one-way analysis of variance, and Fisher’s method of pairwise comparison.The research findings indicated that (1) both the overall and specific aspects of internal supervision of the schools under Si Sa Ket Primary Educational Service Area Office 3 were rated at the high level; when specific aspects of the internal supervision were considered, they could be ranked from top to bottom based on their rating means as follows: that of the reporting and improvement/revision, that of the internal evaluation of the school, that of the enhancement of the teachers’ morale and will power, that of the practice of internal supervision, that of the provision of knowledge before internal supervision of the school, and that of the planning for internal supervision of the school, respectively; and (2) regarding comparison results of the conditions of internal supervision of the schools as classified by school size, it was found that the schools of different sizes differed significantly in their conditions of internal supervision at the .05 level of statistical significance; and when the comparison was undertaken as classified by the teacher’s teaching experience, it was found that teachers with different teaching experiences did not significantly differ in their perceptions of the internal supervision condition of the school.
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการนิเทศภายในสถานศึกษา             สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 และ 2) เปรียบเทียบการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 จำแนกตามขนาดของสถานศึกษาและประสบการณ์การสอนของครู   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ปีการศึกษา 2567 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของทาโร ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 332 คน จากนั้นทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามขนาดของสถานศึกษา แล้วใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่าเกี่ยวกับการนิเทศภายในสถานศึกษา มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของฟิชเชอร์ ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) การนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การรายงานและปรับปรุงแก้ไข การประเมินผลภายในสถานศึกษา การสร้างเสริมขวัญและกำลังใจของครู การปฏิบัติการนิเทศภายในสถานศึกษา การให้ความรู้ก่อนการนิเทศภายในสถานศึกษา และการวางแผนการนิเทศภายในสถานศึกษา ตามลำดับ และ 2) ผลการเปรียบเทียบการนิเทศภายในสถานศึกษา จำแนกตามขนาดสถานศึกษา พบว่า ขนาดของสถานศึกษาที่แตกต่างกันมีการนิเทศภายในสถานศึกษาแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อจำแนกตามประสบการณ์การสอนของครู พบว่า ประสบการณ์การสอนของครูที่แตกต่างกันรับรู้การนิเทศภายในสถานศึกษาไม่แตกต่างกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13238
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2652300696.pdf1.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.