Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13260
Title: Development of a Non-Formal Education Program to Enhance People’s Holistic Health Care Behavior by Themselves
การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อการสร้างเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพองค์รวมด้วยตนเองของประชาชน
Authors: KHWANDIN SINGKHAM
ขวัญดิน สิงห์คำ
Sumalee Sangsri
สุมาลี สังข์ศรี
Sukhothai Thammathirat Open University
Sumalee Sangsri
สุมาลี สังข์ศรี
[email protected]
[email protected]
Keywords: โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน สุขภาพองค์รวม การเสริมสร้างพฤติกรรม การดูแลสุขภาพ
Nonformal education program
Holistic health care
Enhancing health care behavior
Issue Date:  30
Publisher: Sukhothai Thammathirat Open University
Abstract: The objectives of this research were to: (1) develop a non-formal education program to promote holistic health care behaviors among the public and 2) study the effectiveness of the constructed program. This research and development project comprised three phases. Phase 1: studying the conditions, problems, and needs of people related to holistic health care. It included two steps: Step 1 was studying the conditions, problems, and needs for holistic health care. The sample group was 400 people aged 25 and above who were drawn through multistage random sampling. Research instrument was a questionnaire. Data were analyzed by frequency, percentage, mean, and standard deviation. Step 2 was studying case studies of health care activities conducted by five relevant organizations which were purposively selected according to the designed criterias. The informants were 1 executive and two resource persons from each center, totaling 15 people. The research instrument was an interview form. Data obtained were analyzed by content analysis. Phase 2: developing the non-formal education program by synthesizing the findings from Phase 1 and relevant literature. Then the developed programe was reviewed by 12 experts through a focus group meeting. Their suggestions were employed for adjusting the programe. Phase 3: Testing and evaluating the program. The sample group was 30 people who were interested in holistic health care and applied to join the programe. Research Instruments included: 1) the nonformal education program; 2) the pre- and post-training assessment tests; 3) the immediate and one-month post-training health behavior evaluation forms, and 4) the satisfaction survey form. Statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, and t-test.Research findings were: 1) Concerning health problems, most of the samples had high blood pressure. They had unhealthy eating habits such as eating fried food regularly and drinking small amount of water. For needs of holistic health care, they expressed needs in four health dimensions. For physical health, they needed knowledge about healthy foods most. For mental health, they required positive mental imagery. For social health, they would like to have warm relationships and encouraging families. For wisdom health, they sought for sacrificing, kindness, and relinquishing negative emotions. 2) The developed nonformal education program has six components: rationale, objectives, contents, activities procedures, media and equipment, and evaluation methods. 3) The effectiveness of the program showed that after training, the participants had score of knowledge and understanding regarding holistic health care higher than before training at 0.01 statistically significance level. After finishing the training for 1 month, the participants had behavior of holistic health care better than finishing immediately training. The participants indicated their satisfaction at a highest level toward the non-formal education program to promote holistic health care behaviors.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อการสร้างเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพองค์รวมด้วยตนเองของประชาชน และ 2) ศึกษาประสิทธิผลในการใช้โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อการสร้างเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพองค์รวมด้วยตนเองของประชาชน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาประกอบด้วย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพองค์รวมของประชาชน ประกอบด้วย 2 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพองค์รวมของประชาชน กลุ่มตัวอย่าง  คือ ประชาชนจากทุกภาคที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไป จำนวน 400 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นที่ 2 ศึกษากรณีศึกษาการจัดกิจกรรมเพื่อการดูแลสุขภาพองค์รวมขององค์กรที่เกี่ยวข้อง 5 แห่ง ซึ่งคัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด ผู้ให้ข้อมูล คือ  ผู้บริหารศูนย์ละ 1 คน และวิทยากรศูนย์ละ 2 คน รวม 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดย การวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 พัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนฯ โดยนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาระยะที่ 1 มาสังเคราะห์ร่วมกับผลการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง สร้างเป็นโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนฯ จากนั้นสนทนากลุ่มโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 12 คน เพื่อพิจารณาและให้ข้อเสนอแนะแล้วนำมาปรับปรุงโปรแกรมต่อไป ระยะที่ 3 ทดลองใช้และประเมินโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนฯ กลุ่มตัวอย่าง คือประชาชนที่สนใจดูแลสุขภาพองค์รวม จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสมัครใจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนฯ 2) แบบทดสอบก่อนและหลังการอบรม 3) แบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพหลังการอบรมทันทีและหลังการอบรม 1 เดือน และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีผลการวิจัยมีดังนี้ 1) ด้านสภาพปัญหา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่  เป็นโรคความดันโลหิตสูง มีพฤติกรรมการกิน กินของทอด กินอาหารกรุบกรอบเป็นประจำ และดื่มน้ำน้อย สำหรับความต้องการการดูแลสุขภาพองค์รวมด้วยตนเอง พบว่าประชาชนมีความต้องการดูแลสุขภาพทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านสุขภาพทางกาย ต้องการความรู้เรื่องอาหารเพื่อสุขภาพในระดับมากที่สุด ด้านสุขภาพทางจิต ต้องการมีจินตนาการเชิงบวก ด้านสุขภาพทางสังคม ต้องการการมีครอบครัวที่อบอุ่นและให้กำลังใจกัน  และด้านสุขภาพทางปัญญา ต้องการการเสียสละ การมีความเมตตา กรุณา และการเอาพิษความโลภ โกรธ หลง ออกจากจิตใจ 2) โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อการสร้างเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพองค์รวมด้วยตนเองของประชาชนที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบ 6 ด้านคือ (1) หลักการและเหตุผล (2) วัตถุประสงค์ (3) เนื้อหา (4) ขั้นตอนการจัดกิจกรรม (5) สื่อและอุปกรณ์ และ (6) การประเมินผล และ 3) ผลการศึกษาประสิทธิผลในการใช้โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อการสร้างเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพองค์รวมฯ พบว่า ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจการดูแลสุขภาพองค์รวมหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้านพฤติกรรมการดูแลสุขภาพพบว่าหลังการอบรม 1 เดือน ผู้เข้าอบรมมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพในระดับปฏิบัติได้ดีทุกด้าน ซึ่งสูงกว่าหลังการอบรมทันทีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  และด้านความพึงพอใจพบว่าผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจต่อโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อการสร้างเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพองค์รวมด้วยตนเองในระดับมากที่สุด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13260
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
4562000192.pdf2.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.