Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13262
Title: The Digital Skill Evaluation and Development of Personnel at Ladprao District Office, Bangkok Metropolis
การประเมินและการพัฒนาทักษะดิจิทัลของบุคลากรสำนักงานเขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร
Authors: JARAN KAENJAROEN
จรัญ แก่นเจริญ
Theppasak Boonyarataphan
เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์
Sukhothai Thammathirat Open University
Theppasak Boonyarataphan
เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์
[email protected]
[email protected]
Keywords: การประเมินทักษะดิจิทัล   การพัฒนาทักษะดิจิทัล  บุคลากรสำนักงานเขตลาดพร้าว
Digital Skill Evaluation
Digital Skill Development
Personnel in the Ladprao District  office
Issue Date:  27
Publisher: Sukhothai Thammathirat Open University
Abstract: The objectives of this study were to (1) evaluate the personnel digital skill level Ladprao District Office, (2) compare the personnel digital skill level at Ladprao District Office based on personal factors, and (3) provide recommendation guidelines for a personnel digital skill development plan for Ladprao District OfficeThe Study was a quantitative research. The population consisted of 252 civil servants, employees, and other personnel at the Ladprao District Office. The sample size was determined by using Taro Yamane formula with a sample of 155people. A questionnaire was used as the research instrument. The statistics used for data analysis included frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, and one-way ANOVA at a .05 level of statistical significance.The results of the study found that (1) the overall personnel digital skills level at the Ladprao District Office was at moderate level, (2) there were statistically significant differences in digital skills based on age and type of personnel, while gender, education level, and work experience were not show significant differences in digital skills at the 0.5. and (3) the digital skills development plan for personnel at the Ladprao District Office includes vision, main objectives, mission, success indicators, focus areas for development categorized by personnel groups, development framework, development procedures, evaluation of development outcomes, and reflection on learning and application of knowledge.
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินทักษะดิจิทัลของบุคลากร สำนักงานเขตลาดพร้าว (2) เปรียบเทียบทักษะดิจิทัลของบุคลากร สำนักงานเขตลาดพร้าว จำแนกตามปัจจัย ส่วนบุคคล และ (3) เสนอแนะแผนพัฒนาทักษะดิจิทัลของบุคลากร สำนักงานเขตลาดพร้าว การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ข้าราชการ พนักงานและบุคลากรอื่น ในสำนักงานเขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร จำนวน 252 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 155 คนจากสูตรของยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05ผลการศึกษาพบว่า  (1) ระดับทักษะดิจิทัลของบุคลากร สำนักงานเขตลาดพร้าว  โดยรวมอยู่ระดับปานกลาง (2) อายุ และประเภทบุคลากรต่างกัน มีทักษะดิจิทัลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนตัวแปรเพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน ต่างกันมีระดับทักษะดิจิทัลไม่แตกต่างกัน ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 และ (3) แผนพัฒนาทักษะดิจิทัลของบุคลากร สำนักงานเขตลาดพร้าว ประกอบไปด้วย  วิสัยทัศน์  เป้าประสงค์หลัก พันธกิจ  ตัวชี้วัดความสำเร็จ จุดเน้นขอบเขตการพัฒนา โดยจำแนกตามกลุ่มบุคลากร กรอบการพัฒนา ขั้นตอนวิธีการพัฒนา  การประเมินผลการพัฒนา และการสะท้อนการเรียนรู้ และการนำความรู้ไปใช้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13262
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2613000138.pdf2.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.