กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13281
ชื่อเรื่อง: | ความต้องการพัฒนาตนเองของนักบริหารการปกครองท้องที่ภายใต้แนวคิดระบบราชการ 4.0 กรณีศึกษา อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Needs of self-development of the provincial administrative staffs according to the concept of Bureaucracy 4.0: A Case Study ofNa Haeo District, Loei Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นพพล อัคฮาด วินัย วงษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | การพัฒนาตนเอง--ไทย--เลย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี การศึกษาเฉพาะกรณี--บริหารรัฐกิจ การพัฒนาบุคลากร--ไทย--เลย |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความต้องการพัฒนาตนเองของนักบริหาร การปกครองท้องที่ภายใต้แนวคิดระบบราชการ 4.0 (2) ระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยแห่งความสำเร็จในการพัฒนาตนเองของนักบริหารการปกครองท้องที่ภายใต้แนวคิดระบบราชการ 4.0 (3) เปรียบเทียบความต้องการพัฒนาตนเองของนักบริหารการปกครองท้องที่ภายใต้แนวคิดระบบราชการ 4.0 ตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแห่งความสำเร็จกับความต้องการพัฒนาตนเองของนักบริหารการปกครองท้องที่ภายใต้แนวคิดระบบราชการ 4.0 การศึกษานี้ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรที่เป็น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนันและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ในเขตอำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ทั้งหมดจำนวน 144 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ Pearson Correlation Coefficient กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษา พบว่า (1) ความต้องการพัฒนาตนเองของนักบริหารการปกครองท้องที่ภายใต้แนวคิดระบบราชการ 4.0 ในเขตอำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย อยู่ในระดับมาก ( x̅=4.04) (2) ระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยแห่งความสำเร็จในการพัฒนาตนเองของนักบริหารการปกครองท้องที่ภายใต้แนวคิดระบบราชการ 4.0 ในเขตอำเภอนาแห้ว จังหวัดเลยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̅=4.23) (3) ผลการเปรียบเทียบระดับความต้องการพัฒนาตนเองของนักบริหาร การปกครองท้องที่ภายใต้แนวคิดระบบราชการ 4.0 ในเขตอำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ความแตกต่างด้านระดับการศึกษา ด้านการดำรงตำแหน่งและด้านรายได้ทั้งหมดเฉลี่ยต่อเดือนมีระดับความต้องการพัฒนาตนเองที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05 และ (4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแห่งความสำเร็จกับความต้องการพัฒนาตนเองของนักบริหารการปกครองท้องที่ภายใต้แนวคิดระบบราชการ 4.0 ในอำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ในภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวก ( r=0.778**) อยู่ในระดับปานกลาง ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ ระดับ 0.05 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13281 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2633002494.pdf | 1.78 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น