Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13282
Title: | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ในจังหวัดพิษณุโลก |
Other Titles: | Factors related to the improvement of work efficiency to drive the national strategy on creating Opportunities and Social Equality of Social Development and Human Security Volunteers (SDHSV) in Phitsanulok Province |
Authors: | นพพล อัคฮาด สุภนิช คุ้มเกตุ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | การบริหารจัดการองค์กร แรงจูงใจ อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์ |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับปัจจัยการบริหารจัดการองค์การ ระดับปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานและระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) (2) เปรียบเทียบประสิทธิภาพการปฏิบัติงานเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมของ อพม. กับปัจจัยส่วนบุคคล (3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมของ อพม.และ (4) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมของ อพม.การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็น อพม. ในจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 385 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 คน เลือกแบบเจาะจง ใช้วิธีศึกษาจากการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงเนื้อหาด้วยวิธีการตีความและนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยการวิเคราะห์พรรณนา เพื่อสรุปผลและสร้างเป็นแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของ อพม.ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับปัจจัยการบริหารจัดการองค์การ ปัจจัยแรงจูงใจในการทำงาน และระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของ อพม. กับปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ อายุ สถานภาพ ที่แตกต่างกันจะมีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน แต่ระดับการศึกษา อาชีพ ระดับรายได้ ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานที่แตกต่างกันจะมีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานแตกต่างกัน (3) ปัจจัยการบริการจัดการองค์กรมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในระดับน้อย แสดงให้เห็นว่า การบริหารจัดการองค์กรจะช่วยให้สามารถประเมินสถานภาพขององค์กรเพื่อให้องค์กรได้สำเร็จบรรลุตามเป้าหมายได้ ส่วนปัจจัยแรงจูงใจมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในระดับปานกลาง แสดงให้เห็นว่าการปฏิบัติงานของ อพม. มีปัจจัยต่าง ๆ ที่เป็นสิ่งกระตุ้นในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ และ (4) แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ควรพิจารณาคัดเลือก อพม. โดยพิจารณาในด้านระดับการศึกษา อาชีพ ระดับรายได้ และระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน 2) ปัจจัยการบริหารจัดการองค์กร ควรพัฒนาศักยภาพของ อพม. ในด้านทักษะให้มีความชำนาญ และ 3) ปัจจัยแรงจูงใจ ควรมุ่งเน้นกิจกรรมที่เป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติการปฏิบัติงานของ อพม. และควรมีการมอบหมายงานให้ช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ในปริมาณงานที่เหมาะสม |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (บริหารรัฐกิจ))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13282 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2633002510.pdf | 1.88 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.