กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13312
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารจัดการองค์การกับการพัฒนาองค์การดิจิทัลของสำนักงานประจำศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Relationship between the organizational management factors with the Digital Organizational Development of the Office of Chiang Mai Juvenile and Family Court
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นพพล อัคฮาด
หิรัญ พูลเกตุ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: การบริหารจัดการองค์การ  การพัฒนาองค์การดิจิทัล  สำนักงานประจำศาลเยาวชนและครอบครัว จังหวัดเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
การศึกษาเฉพาะกรณี--บริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับการบริหารจัดการองค์การของสำนักงานประจำศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่ (2) ระดับการพัฒนาองค์การดิจิทัลของสำนักงานประจำศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารจัดการองค์การกับการพัฒนาองค์การดิจิทัล ของสำนักงานประจำศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่ และ(4) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการองค์การที่พร้อมรองรับการพัฒนาองค์การดิจิทัลของสำนักงานประจำศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี โดยมีประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือบุคลากรในสำนักงานประจำศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่ทั้งหมด จำนวน 32 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูล ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบความสัมพันธ์ โดยคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ มีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้บริหารและบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานประจำศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่ โดยวิธีเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 7 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และใช้การวิเคราะห์เนื้อหาผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยการบริหารจัดการองค์การของสำนักงานประจำศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (2) ระดับการพัฒนาองค์การดิจิทัลของสำนักงานประจำศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (3) ปัจจัยการบริหารจัดการองค์การมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาองค์การดิจิทัลของสำนักงานประจำศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่ ในทางบวกอยู่ในระดับสูง ที่ระดับค่านัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และ (4) แนวทางในการพัฒนาการบริหารจัดการองค์การที่พร้อมรองรับการพัฒนาองค์การดิจิทัลของสำนักงานประจำศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย ด้านค่านิยมร่วม ด้านรูปแบบในการบริหาร และด้านบุคคล
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13312
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2643001742.pdf1.29 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น