Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13313
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: Factors Affecting the Success of Implementing Policy to Solve PM2.5 Problem of Local Government Organizations in Samut Prakan Province
Authors: จิรวัฒน์ เมธาสุทธิรัตน์
ดวงนภา สุวรรณ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: นโยบายแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสมุทรปราการ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับของปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการนำนโยบายการแก้ไขปัญหามลพิษ ด้านฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรปราการ (2) ระดับความสำเร็จของการนำนโยบายฯ ไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรปราการ (3) ปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายฯ ไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรปราการ (4) สมการพยากรณ์ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการนโยบายฯไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรปราการ และ (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการพัฒนาการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนให้เกิดสัมฤทธิผลมากขึ้นการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง พนักงานจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรปราการ ทั้ง 6 อำเภอ ในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวนทั้งสิ้น 9,518 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างด้วยสูตรของทาโร ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 จำนวน 384 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณผลการศึกษา พบว่า (1) ระดับของปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการนำนโยบายการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรปราการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านวัตถุประสงค์และมาตรฐานนโยบาย  มีค่ามากที่สุด (2) ระดับความสำเร็จของการนำนโยบายการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรปราการ อยู่ในระดับมาก (3) ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรปราการ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ได้แก่ ความตั้งใจของผู้ปฏิบัติ รองลงมาคือ  เงื่อนไขทางเศรษฐกิจ ด้านสังคมและการเมือง วัตถุประสงค์และมาตรฐานนโยบาย และทรัพยากรนโยบาย ตามลำดับ (4) สมการพยากรณ์ คือ Y ความสำเร็จของการนำนโยบายฯ ไปปฏิบัติ =  -0.041 + 0.222(X1) + 0.177(X2) + 0.252(X3) + 0.346(X4) (5) ปัญหาของการนํานโยบายการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนไปปฏิบัติที่สำคัญที่สุด คือ วัตถุประสงค์และมาตรฐานนโยบาย (6) การจะผลักดันให้นโยบายการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรปราการประสบผลสำเร็จ ควรมุ่งเน้นไปที่ความตั้งใจของผู้ปฏิบัติ คือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้มีความเข้าใจในตัวนโยบายและเจตคติที่ดีต่อนโยบาย
Description: การศึกษาเฉพาะกรณี (ร.ม. (บริหารรัฐกิจ))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13313
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2643001791.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.