Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13316
Title: | แนวทางการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานในสถานประกอบกิจการ ภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ของจังหวัดนครสวรรค์ |
Other Titles: | Guideline for skill development of labor in company under skill development promotion Act B.E. 2545 in Nakhon Sawan Province |
Authors: | จำเนียร ราชแพทยาคม ธารารัตน์ พูลสมบัติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | การพัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี การศึกษาเฉพาะกรณี--บริหารรัฐกิจ |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานในสถานประกอบกิจการ ภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ของจังหวัดนครสวรรค์ (2) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของแรงงานในสถานประกอบกิจการที่ได้รับการพัฒนาฝีมือแรงงาน ภายใต้ พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ของจังหวัดนครสวรรค์ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานในสถานประกอบกิจการกับผลสัมฤทธิ์ของแรงงานในสถานประกอบกิจการที่ได้รับการพัฒนาฝีมือแรงงาน ภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ของจังหวัดนครสวรรค์ (4) เสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานในสถานประกอบกิจการ ภายใต้ พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ของจังหวัดนครสวรรค์ การศึกษานี้ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมวิธี ประชากรในการศึกษาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) การศึกษาเชิงปริมาณ ประชากรคือผู้แทนของสถานประกอบกิจการในจังหวัดนครสวรรค์ที่ขึ้นทะเบียนในปี 2566 จำนวน 77 แห่ง คิดเป็น 77 คนศึกษาจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) การศึกษาในเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ เจ้าหน้าที่ของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 8 นครสวรรค์ เลือกแบบเจาะจงจากผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องโดยตรงได้จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาแบบสรุปอุปนัย ผลการศึกษาพบว่า (1) ภาพรวมของความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานในสถานประกอบกิจการ ภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ของจังหวัดนครสวรรค์ อยู่ในระดับมาก (2) ภาพรวมของความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับผลสัมฤทธิ์ของแรงงานในสถานประกอบกิจการที่ได้รับการพัฒนาฝีมือแรงงาน ภายใต้ พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ของจังหวัดนครสวรรค์ อยู่ในระดับมาก (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับผลสัมฤทธิ์ของแรงงานที่ได้รับการพัฒนาฝีมือแรงงาน ภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ของจังหวัดนครสวรรค์ มีความสัมพันธ์ระดับสูง (4) ข้อเสนอแนะ คือ ควรกำหนดนโยบายเชิงรุกขับเคลื่อนความร่วมมือเครือข่ายและยกระดับสมรรถนะให้ครบถ้วนตามสมรรถนะของตำแหน่งงาน เพื่อเข้าสู่มาตรฐานฝีมือแรงงานในระดับสากล พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมและสาขาทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานสมัยใหม่ในระดับสากล ส่งเสริมการพัฒนาทักษะแรงงานให้สอดคล้องกับตำแหน่งงานในพื้นที่ทำให้แรงงานที่ได้รับการพัฒนาฝีมือเกิดความชำนาญสามารถเพิ่มรายได้ ลดการสูญเสียและลดขั้นตอนในการทำงานเพื่อผลิตภาพแรงงานเพิ่มมากขึ้นและกำหนดมาตรการจูงใจให้กับสถานประกอบกิจการเพื่อผลักดันให้แรงงานในสถานประกอบกิจการมีความพร้อมและมีความสามารถในการแข่งขันระดับประเทศ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13316 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2643001908.pdf | 1.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.