Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13316
Title: The Guideline for Skill Development of Labor in Company under Skill Development Promotion Act B.E. 2545 in Nakhon Sawan Province
แนวทางการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานในสถานประกอบกิจการ ภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545  ของจังหวัดนครสวรรค์
Authors: THARARAT PHUNSOMBAT
ธารารัตน์ พูลสมบัติ
Chamnian Rajphaetyakhom
จำเนียร ราชแพทยาคม
Sukhothai Thammathirat Open University
Chamnian Rajphaetyakhom
จำเนียร ราชแพทยาคม
[email protected]
[email protected]
Keywords: การพัฒนาฝีมือแรงงาน  จังหวัดนครสวรรค์
Skill Development of Labor
Nakhon Sawan Province
Issue Date:  27
Publisher: Sukhothai Thammathirat Open University
Abstract: The objectives of this study were to (1) study opinions on factors for skill development of labor in company under Skill Development Promotion Act B.E. 2545 in Nakhon Sawan Province (2) study opinions on achievement of labor in company under Skill Development Promotion Act B.E. 2545 in Nakhon Sawan Province (3) study the relationship between factors for skill development of labor in company and the achievement of labor in company under Skill Development Promotion Act B.E. 2545 in Nakhon Sawan Province  (4) to recommend development guidelines for skill development of labor in company and the achievement of labor in company under Skill Development Promotion Act B.E. 2545 in Nakhon Sawan Province.                         This study was a mixed method research. The population was categorized into 2 groups: 1) for quantitative research, the population was the representatives from 77 companies in Nakhon Sawan Province that registered in 2023, totally 77 peoples, the whole population. Research tool was a questionnaire. Statistics for data analysis employed percentage, mean, standard deviation 2) for qualitative research, key informants were officials of Nakhon Sawan Province who are in charge with directly totally 5 officials. Sampling method was purposive sampling method. Research tool for data collection was a structured- interviewing form. Data was analyzed by analytic induction content analysis.                        The findings showed that (1) an overview of  opinions on factors for skill development of labor in company under Skill Development Promotion Act B.E. 2545 in Nakhon Sawan Province was at high level (2) an overview of opinions on achievement of labor in company under Skill Development Promotion Act B.E. 2545 in Nakhon Sawan Province was at high level (3) factors for skill development of labor in company had positively correlated at high level with the achievement of labor in company under Skill Development Promotion Act B.E. 2545 in Nakhon Sawan Province (4) the recommendations were that the organization should formulate proactive plan to drive networking collaboration and upgrade complete competency of job position to meet international standard, develop training courses and field of standard evaluation according to the modern international market needs, develop labor skills to expertise level and earn more income and to decrease defect, retard, increase productivity as well as to create incentive motivation to the companies get ready and have capacity to compete internationally.
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานในสถานประกอบกิจการ ภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ของจังหวัดนครสวรรค์ (2) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของแรงงานในสถานประกอบกิจการที่ได้รับการพัฒนาฝีมือแรงงาน ภายใต้ พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ของจังหวัดนครสวรรค์ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานในสถานประกอบกิจการกับผลสัมฤทธิ์ของแรงงานในสถานประกอบกิจการที่ได้รับการพัฒนาฝีมือแรงงาน ภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ของจังหวัดนครสวรรค์ (4) เสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานในสถานประกอบกิจการ ภายใต้ พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ของจังหวัดนครสวรรค์                        การศึกษานี้ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมวิธี ประชากรในการศึกษาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) การศึกษาเชิงปริมาณ ประชากรคือผู้แทนของสถานประกอบกิจการในจังหวัดนครสวรรค์ที่ขึ้นทะเบียนในปี 2566 จำนวน  77 แห่ง คิดเป็น 77 คนศึกษาจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) การศึกษาในเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ เจ้าหน้าที่ของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 8 นครสวรรค์ เลือกแบบเจาะจงจากผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องโดยตรงได้จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาแบบสรุปอุปนัย                        ผลการศึกษาพบว่า (1) ภาพรวมของความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานในสถานประกอบกิจการ ภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ของจังหวัดนครสวรรค์ อยู่ในระดับมาก (2) ภาพรวมของความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับผลสัมฤทธิ์ของแรงงานในสถานประกอบกิจการที่ได้รับการพัฒนาฝีมือแรงงาน ภายใต้ พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ของจังหวัดนครสวรรค์ อยู่ในระดับมาก (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ  กับผลสัมฤทธิ์ของแรงงานที่ได้รับการพัฒนาฝีมือแรงงาน ภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ของจังหวัดนครสวรรค์ มีความสัมพันธ์ระดับสูง (4) ข้อเสนอแนะ คือ ควรกำหนดนโยบายเชิงรุกขับเคลื่อนความร่วมมือเครือข่ายและยกระดับสมรรถนะให้ครบถ้วนตามสมรรถนะของตำแหน่งงาน เพื่อเข้าสู่มาตรฐานฝีมือแรงงานในระดับสากล พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมและสาขาทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานสมัยใหม่ในระดับสากล ส่งเสริมการพัฒนาทักษะแรงงานให้สอดคล้องกับตำแหน่งงานในพื้นที่ทำให้แรงงานที่ได้รับการพัฒนาฝีมือเกิดความชำนาญสามารถเพิ่มรายได้ ลดการสูญเสียและลดขั้นตอนในการทำงานเพื่อผลิตภาพแรงงานเพิ่มมากขึ้นและกำหนดมาตรการจูงใจให้กับสถานประกอบกิจการเพื่อผลักดันให้แรงงานในสถานประกอบกิจการมีความพร้อมและมีความสามารถในการแข่งขันระดับประเทศ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13316
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2643001908.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.