กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13318
ชื่อเรื่อง: | การสื่อสารทางการตลาดและการยอมรับเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Marketing Communication and Technology Acceptance Affecting Electric Vehicle Purchase Intention in Bangkok Metropolitan Region |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุรีย์ เข็มทอง ปาณิสรา สิรปกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | รถยนต์ไฟฟ้า การสื่อสารทางการตลาด การยอมรับเทคโนโลยี และความตั้งใจซื้อ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาการจัดการธุรกิจและการบริการ--การศึกษาเฉพาะกรณี |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) เปรียบเทียบความแตกต่างความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (2) วิเคราะห์ปัจจัยด้านการสื่อสารทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ (3) วิเคราะห์ปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรเป็นผู้บริโภคที่ยังไม่เคยมีรถยนต์ไฟฟ้าใช้ มีใบขับขี่ อายุระหว่าง 26 ถึง 60 ปี และมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน ขนาดกลุ่มตัวอย่างคำนวณโดยใช้สูตรของครอแครน ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 400 คน ใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือในการศึกษาคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่าที วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณผลการศึกษาพบว่า (1) ความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีความแตกต่างตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ รายได้ ความถี่ในการใช้รถยนต์ต่อสัปดาห์ จำนวนระยะทาง ที่ต้องเดินทางในแต่ละวัน และผู้มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อรถยนต์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2) ปัจจัยด้านการสื่อสารทางการตลาด ได้แก่ การส่งเสริมการขาย การขายโดยใช้พนักงานขาย และ การประชาสัมพันธ์ มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งสามารถร่วมกันพยากรณ์ความตั้งใจซื้อ ได้ร้อยละ 21.9 และ (3) ปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยี ได้แก่ ผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ความง่ายต่อการใช้งาน ประสิทธิภาพการใช้งาน การรับรู้ถึงประโยชน์ และความคุ้มค่าในด้านราคา มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งสามารถร่วมกันพยากรณ์ความตั้งใจซื้อ ได้ร้อยละ 58.2 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13318 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2643001999.pdf | 4.08 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น