Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13325
Title: | Development Guideline to Collaborative Governance in Operation of Sakoo Sub-district Welfare Fund, Phrasaeng District, Surat Thani Province แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการแบบความร่วมมือในการบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลสาคู อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี |
Authors: | Supitcha Noppamas สุพิชชา นพมาศ Noppon Akahat นพพล อัคฮาด Sukhothai Thammathirat Open University Noppon Akahat นพพล อัคฮาด [email protected] [email protected] |
Keywords: | ตำบลสาคู กองทุนสวัสดิการชุมชน การบริหารจัดการแบบความร่วมมือ Sakoo Sub-district Community welfare fund Collaborative Governance |
Issue Date: | 29 |
Publisher: | Sukhothai Thammathirat Open University |
Abstract: | This study aimed to: (1) study a collaborative governance in the operation of the Sakoo Sub-district Community Welfare Fund; (2) analyze the factors that lead to the adoption of collaborative governance in the management of the Sakoo Sub-district Community Welfare Fund; and (3) study the problems and guidelines for developing a collaborative governance in the management of the Sakoo Sub-district Community Welfare Fund, Phrasaeng District, Surat Thani Province.In this study, a qualitative research was conducted using semi-structured interviews. Data were collected from 20 key informants, who were specifically selected from those who had roles and responsibilities in work groups/units and whose work was related to the management of the Sakoo Subdistrict Community Welfare Fund. Data was analyzed by using a content analysis.The results of the study found that: (1) the management of the community welfare fund in Sakoo Subdistrict was a result of cooperation from various relevant sectors, as follows: government agencies provided support in terms of budget, human resources, were advisors, and providing knowledge and skills in managing the community welfare fund, civil society provided support in terms of budget and personnel, the community sector also participated in the management of the fund, there were meetings to discuss solutions to problems that arose between relevant sectors, local leaders and committee had the authority and duty to oversee and control the collection of contributions, provide welfare to members, propose amendments to the fund regulations to be consistent with the current situation, and be a representative of the village in checking the financial accuracy of the community welfare fund; (2) factors that led to the adoption of collaborative governance in the management of the Sakoo Subdistrict Community Welfare Fund were as follows: starting points that led to cooperation included spatial relationships and government policies; collaborative processes among network partners included formal meetings and facilitating leadership; and outcomes from community welfare fund management included tangible results that were consistent with the strategic issues of community welfare development; and (3) the problems with collaborative governance in the management of the Sakoo Subdistrict Community Welfare Fund in terms of budget, coordination, and government regulations and rules. the solutions relied on cooperation from all network partners involved in the Sakoo Subdistrict Community Welfare Fund through a collaborative governance mechanism to enable the management of community welfare funds to achieve their goals. การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพการบริหารจัดการแบบความร่วมมือในการดำเนินงานของกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลสาคู (2) วิเคราะห์ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการนำการบริหารจัดการแบบความร่วมมือมาใช้ในการบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลสาคู และ (3) ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการแบบ ความร่วมมือมาใช้ในการบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลสาคู อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานีการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ทำการเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 ราย ซึ่งใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง จากผู้ที่มีบทบาทหน้าที่ของกลุ่มงาน/หน่วยงาน และมีลักษณะ การทำงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลสาคู อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานีทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาผลการศึกษาพบว่า (1) การบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลสาคู เกิดจากความร่วมมือ จากภาคส่วนต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ดังนี้ หน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุนในส่วนของงบประมาณ ทรัพยากรบุคคล เป็นที่ปรึกษา และให้ความรู้พัฒนาทักษะในการบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชน ภาคประชาสังคม สนับสนุนงบประมาณ และบุคคลากร ภาคชุมชน มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกองทุนร่วมด้วย มีการประชุมเพื่อหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ผู้นำท้องที่ และคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลสาคู มีอำนาจหน้าที่ในการดูแล และควบคุมการจัดเก็บเงินสมทบ การจัดสวัสดิการให้แก่สมาชิก การเสนอให้มีการแก้ไขระเบียบของกองทุนให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และเป็นตัวแทนของหมู่บ้านในการตรวจสอบความถูกต้องด้านการเงินของกองทุนสวัสดิการชุมชน (2) ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการนำการบริหารจัดการแบบความร่วมมือมาใช้ในการบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลสาคู มีดังนี้ จุดเริ่มต้นที่ก่อให้เกิดความร่วมมือ ประกอบด้วย ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ และนโยบายของรัฐบาล กระบวนการทำงานร่วมกันของภาคีเครือข่าย ได้แก่ การประชุมอย่างเป็นทางการ และภาวะผู้นำอำนวยความสะดวก และผลลัพธ์จากการบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชน ได้แก่ผลการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมที่สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาสวัสดิการชุมชน และ (3) ปัญหาบริหารจัดการแบบความร่วมมือในการบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลสาคู สำหรับด้านงบประมาณ ปัญหาด้านการประสานงาน และปัญหาด้านกฎระเบียบ ข้อบังคับ ของภาครัฐ โดยแนวทางในการแก้ไขอาศัยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลสาคู ผ่านกลไกการบริหารจัดการแบบความร่วมมือเพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนบรรลุเป้าหมายได้ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13325 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2643002401.pdf | 2.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.