Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13325
Title: | แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการแบบความร่วมมือในการบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลสาคู อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี |
Other Titles: | Development guideline to collaborative governance in operation of Sakoo Sub-district Welfare Fund, Phrasaeng District, Surat Thani Province |
Authors: | นพพล อัคฮาด สุพิชชา นพมาศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | ตำบลสาคู กองทุนสวัสดิการชุมชน การบริหารจัดการแบบความร่วมมือ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี การศึกษาเฉพาะกรณี--บริหารรัฐกิจ |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพการบริหารจัดการแบบความร่วมมือในการดำเนินงานของกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลสาคู (2) วิเคราะห์ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการนำการบริหารจัดการแบบความร่วมมือมาใช้ในการบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลสาคู และ (3) ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการแบบ ความร่วมมือมาใช้ในการบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลสาคู อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานีการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ทำการเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 ราย ซึ่งใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง จากผู้ที่มีบทบาทหน้าที่ของกลุ่มงาน/หน่วยงาน และมีลักษณะ การทำงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลสาคู อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานีทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาผลการศึกษาพบว่า (1) การบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลสาคู เกิดจากความร่วมมือ จากภาคส่วนต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ดังนี้ หน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุนในส่วนของงบประมาณ ทรัพยากรบุคคล เป็นที่ปรึกษา และให้ความรู้พัฒนาทักษะในการบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชน ภาคประชาสังคม สนับสนุนงบประมาณ และบุคคลากร ภาคชุมชน มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกองทุนร่วมด้วย มีการประชุมเพื่อหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ผู้นำท้องที่ และคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลสาคู มีอำนาจหน้าที่ในการดูแล และควบคุมการจัดเก็บเงินสมทบ การจัดสวัสดิการให้แก่สมาชิก การเสนอให้มีการแก้ไขระเบียบของกองทุนให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และเป็นตัวแทนของหมู่บ้านในการตรวจสอบความถูกต้องด้านการเงินของกองทุนสวัสดิการชุมชน (2) ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการนำการบริหารจัดการแบบความร่วมมือมาใช้ในการบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลสาคู มีดังนี้ จุดเริ่มต้นที่ก่อให้เกิดความร่วมมือ ประกอบด้วย ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ และนโยบายของรัฐบาล กระบวนการทำงานร่วมกันของภาคีเครือข่าย ได้แก่ การประชุมอย่างเป็นทางการ และภาวะผู้นำอำนวยความสะดวก และผลลัพธ์จากการบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชน ได้แก่ผลการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมที่สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาสวัสดิการชุมชน และ (3) ปัญหาบริหารจัดการแบบความร่วมมือในการบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลสาคู สำหรับด้านงบประมาณ ปัญหาด้านการประสานงาน และปัญหาด้านกฎระเบียบ ข้อบังคับ ของภาครัฐ โดยแนวทางในการแก้ไขอาศัยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลสาคู ผ่านกลไกการบริหารจัดการแบบความร่วมมือเพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนบรรลุเป้าหมายได้ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13325 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2643002401.pdf | 2.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.