Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13326
Title: ความสุขในการทำงาน ที่มีผลต่อสมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานของข้าราชการธุรการ สำนักงานอัยการจังหวัดในสังกัดสำนักงานอัยการภาค 2
Other Titles: Happiness at work affecting the core competencies of administrative officials provincial prosecutor's office under the Jurisdiction of the Prosecutor's Office Region 2
Authors: กิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย
วิลาวัลย์ ขาวลมัย
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: ความสุขในการทำงาน  สมรรถนะหลัก  ข้าราชการธุรการ  สำนักงานอัยการจังหวัดสำนักงานอัยการภาค 2
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
การศึกษาเฉพาะกรณี--บริหารรัฐกิจ
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความสุขในการทำงานและสมรรถนะ หลักในการปฏิบัติงาน ของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการจังหวัด ในสังกัดสำนักงานอัยการภาค 2   (2) ปัจจัยความสุขในการทำงานที่มีผลต่อสมรรถนะหลักในการปฏิบัติงาน ข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการจังหวัด ในสังกัดสำนักงานอัยการภาค 2การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงผสมวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรคือ ข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการจังหวัดในสังกัดสำนักงานอัยการภาค 2  ทั้งสิ้น 156 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง  จากการใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน ได้ตัวอย่างจำนวน 113 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ใช้แบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์พหุถดถอยเชิงเส้น การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์แบบเชิงลึก กับกลุ่มตัวอย่างที่มีบทบาทหน้าที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานเชิงนโยบายของสำนักงานอัยการจังหวัด จำนวน 3 คน ผลการศึกษา พบว่า (1) ระดับความสุขในการทำงานและสมรรถนะหลักอยู่ในระดับ มากที่สุด โดยอารมณ์ทางลบมีค่ามากที่สุด ตามด้วยอารมณ์ทางบวก ความพึงพอใจในงาน และชีวิต  ในด้านสมรรถนะการยึดมั่นในความถูกต้อง ชอบธรรมและจริยธรรมมีค่ามากที่สุด รองลงมาคือการบริการ ที่ดี การทำงานเป็นทีม การมุ่งผลสัมฤทธิ์ และการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ (2) ปัจจัยความสุขในการทำงานที่ส่งผลต่อสมรรถนะในการทำงานได้แก่อารมณ์ทางบวกและอารมณ์ทางลบซึ่งมีผลอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 การวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า ปัจจัยที่มีผลคือการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา ความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน และสภาพแวดล้อมการทำงาน รวมถึงโอกาสในการพัฒนาตนเองและการยอมรับจากองค์กร
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13326
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2643002419.pdf2.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.