Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13382
Title: | ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า ของผู้บริโภคในจังหวัดลำพูน |
Other Titles: | Marketing Mix Factors Affecting Consumers’ Purchase Decision on Electric Vehicles in Lamphun Province |
Authors: | ราณี อิสิชัยกุล นรี เวียงนาค มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | รถยนต์ไฟฟ้า--การตลาด การเลือกของผู้บริโภค--ไทย--ลำพูน |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้บริโภคในจังหวัดลำพูนที่สนใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า (2) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคในจังหวัดลำพูน (3) ศึกษาการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคในจังหวัดลำพูน (4) เปรียบเทียบการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคในจังหวัดลำพูน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (5) วิเคราะห์ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคในจังหวัดลำพูนการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ที่มีความสนใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าและอาศัยอยู่ในจังหวัดลำพูน ซึ่งไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน จึงกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของคอร์แครน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน และทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 31 – 40 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท (2) ผู้บริโภคส่วนใหญ่ให้ความสำคัญต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของรถยนต์ไฟฟ้าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (3) ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคในจังหวัดลำพูนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (4) ผู้บริโภคที่มีปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ และด้านสถานภาพการสมรสที่แตกต่างกันมีการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคในเขตจังหวัดลำพูนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (5) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ได้แก่ การส่งเสริมการตลาด การจัดจำหน่าย ราคา และลักษณะทางกายภาพ ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า ของผู้บริโภคในจังหวัดลำพูน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ตามลำดับ โดยตัวแปรทั้งหมดร่วมกันพยากรณ์การตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า ร้อยละ 58.1 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13382 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2653001855.pdf | 1.85 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.