Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13383
Title: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลของกรมส่งเสริมสหกรณ์
Other Titles: Factors Related to Digital Transformation of the Cooperative Promotion Department
Authors: รชพร จันทร์สว่าง
ดวงพร มุมขุนทด
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
การพัฒนาองค์การ--กรมส่งเสริมสหกรณ์
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยภายในองค์กร และระดับการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลของกรมส่งเสริมสหกรณ์ (2) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลของกรมส่งเสริมสหกรณ์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายในองค์กรต่อการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลของกรมส่งเสริมสหกรณ์ และ (4) เสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของกรมส่งเสริมสหกรณ์การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ บุคลากรสังกัดกรมส่งเสริมสหกรณ์ กำหนดกลุ่มตัวอย่างได้ 258 คน โดยการใช้สูตรคำนวณของทาโร ยามาเน่ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเอฟ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 41-55 ปี ส่วนใหญ่ศึกษาระดับปริญญาตรี ประเภทข้าราชการ ระดับปฏิบัติการ สังกัดกองพัฒนาระบบสนับสนุนการสหกรณ์ มีระยะเวลาในการปฏิบัติงานไม่เกิน 10 ปี และมีระดับเงินเดือนไม่เกินหรือเท่ากับ 20,000 บาท ปัจจัยภายในองค์กรโดยรวมอยู่ในระดับมาก และระดับการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลอยู่ในระดับปานกลาง (2) บุคลากรที่มีปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ การศึกษา ระดับตำแหน่ง และหน่วยงานที่สังกัดแตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็นในการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ปัจจัยภายในองค์กรโดยรวมมีความสัมพันธ์ต่อการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลของกรมส่งเสริมสหกรณ์ เชิงบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ (4) ควรส่งเสริมบุคลากรให้มีความรู้ ทักษะ และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13383
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2653001863.pdf2.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.