Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13394
Title: | คุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์การของพนักงานกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในโครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก |
Other Titles: | Quality of Working Life Affecting Organizational Commitment of Petrochemical Industry Business Staff In Eastern Economic Corridor |
Authors: | กิ่งพร ทองใบ คมวรรณ มีสบาย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | คุณภาพชีวิตในการทำงาน ความผูกพันองค์การ ปิโตรเคมี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี การศึกษาเฉพาะกรณี--บริหารธุรกิจ |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในโครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (2) ระดับความผูกพันองค์การของพนักงานกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในโครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (3) คุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในโครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร 76,120 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามวิธีของยามาเน จำนวน 398 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณผลการศึกษา พบว่า (1) ระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานในภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานโดยส่วนรวม และ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและเพียงพอ (2) ระดับความผูกพันองค์การของพนักงานในภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก จำแนกตามรายด้าน พบว่า ด้านความต้องการเป็นสมาชิกขององค์การ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และ ด้านการใช้ความสามารถเพื่อองค์การ มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด และ (3) คุณภาพชีวิตในการทำงานด้านค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและเพียงพอ ด้านสิ่งแวดล้อมที่ถูกลักษณะและปลอดภัย ด้านเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานได้พัฒนาความรู้ความสามารถได้เป็นอย่างดี ด้านลักษณะงานที่ตั้งอยู่บนฐานของกฎหมายหรือกระบวนการยุติธรรม ด้านความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานโดยส่วนรวม และ ด้านลักษณะงานมีส่วนเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับสังคมโดยตรงส่งผลต่อความผูกพันองค์การของพนักงาน ร้อยละ 55.50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13394 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2653002127.pdf | 1.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.