Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13397
Title: | Marketing Mix Factors Influencing Customer Purchasing Decision toward OTOP Cashew Nut in Ranong Province ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าโอทอปเม็ดมะม่วงหิมพานต์ของผู้บริโภค จังหวัดระนอง |
Authors: | Sutum Vimonkittipong สุธรรม วิมลกิตติพงศ์ Anothai Ngamvichaikit อโณทัย งามวิชัยกิจ Sukhothai Thammathirat Open University Anothai Ngamvichaikit อโณทัย งามวิชัยกิจ [email protected] [email protected] |
Keywords: | ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด การตัดสินใจในการเลือกซื้อ โอทอปเม็ดมะม่วงหิมพานต์ Marketing Mix Factors Purchasing Decisions OTOP Cashew Nut |
Issue Date: | 19 |
Publisher: | Sukhothai Thammathirat Open University |
Abstract: | The objectives of this study were: (1) to examine the demographic factors of consumers purchasing OTOP cashew nut products in Ranong Province; (2) to analyze the marketing mix factors influencing the purchase of OTOP cashew nut products by consumers in Ranong Province; (3) to investigate the purchasing decisions for OTOP cashew nut products among consumers in Ranong Province; (4) to compare purchasing decisions for OTOP cashew nut products based on different demographic factors; and (5) to assess the impact of marketing mix factors on consumers' purchasing decisions for OTOP cashew nuts in Ranong Province.This study was conducted using a quantitative research approach. The target population comprised consumers residing in Ranong Province who decided to purchase OTOP cashew nut products, though the exact population size was unknown. A sample size of 400 was determined using Cochran’s formula and selected through cluster sampling. Data was collected using a structured questionnaire. The statistical methods applied for data analysis included frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, one-way ANOVA, and multiple regression analysis.The study's findings revealed that: (1) the majority of OTOP cashew nut consumers in Ranong Province were female, aged 36-45 years, single, holding a bachelor's degree, employed in state enterprises, and with a monthly income of 20,001 - 30,000 baht; (2) the marketing mix factors were considered highly significant; (3) overall, the factors influencing purchasing decisions were rated at a high level; (4) age, marital status, occupation, and monthly income significantly affected purchasing decisions; and (5) marketing mix factors had a statistically significant impact on purchasing decisions at the 0.05 level, accounting for 81.7% of the variance. การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ของผู้ซื้อสินค้าโอทอปเม็ดมะม่วงหิมพานต์ของผู้บริโภค จังหวัดระนอง (2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดสินค้าโอทอปเม็ดมะม่วงหิมพานต์ (3) การตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าโอทอปเม็ดมะม่วงหิมพานต์ของผู้บริโภค จังหวัดระนอง (4) เปรียบเทียบการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าโอทอปเม็ดมะม่วงหิมพานต์ของผู้บริโภค จังหวัดระนอง ที่จำแนกด้วยปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ และ (5) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าโอทอปเม็ดมะม่วงหิมพานต์ของผู้บริโภค จังหวัดระนองการศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ ประชากร คือ ผู้บริโภคที่พักอาศัยในพื้นที่จังหวัดระนอง และตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าโอทอปเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ซึ่งไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน กำหนดกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรของคอร์แครน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้ซื้อสินค้าโอทอปเม็ดมะม่วงหิมพานต์ของผู้บริโภคจังหวัดระนอง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 36-45 ปี มีสถานภาพการสมรสเป็นโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพพนักงานรัฐวิสาหกิจ และมีรายได้ต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท (2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด มีความสำคัญอยู่ในระดับมาก (3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าโดยรวมมีการตัดสินใจเลือกซื้ออยู่ในระดับมาก (4) อายุ สถานภาพการสมรส อาชีพและรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกันมีการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าโอทอปเม็ดมะม่วงหิมพานต์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (5) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าโอทอปเม็ดมะม่วงหิมพานต์ของผู้บริโภค จังหวัดระนอง ภาพรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยภาพรวมคิดเป็นร้อยละ 81.7 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13397 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2653002184.pdf | 999.56 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.