กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13400
ชื่อเรื่อง: The Public Participation and  Efficiency of Recycling Waste Management in the Taisamphao Sub District Administrative Organization, Phra Phrom District, Nakhon Si Thammarat Province
การมีส่วนร่วมของประชาชนกับประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะรีไซเคิลขององค์การบริหารส่วนตำบลท้ายสำเภา อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: Suppakarn Panudom
ศุภกาญจน์ พันธ์อุดม
Kittipong Keatwatcharachai
กิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย
Sukhothai Thammathirat Open University
Kittipong Keatwatcharachai
กิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย
[email protected]
[email protected]
คำสำคัญ: การมีส่วนร่วมของประชาชน  ประสิทธิภาพการบริหารจัดการ  ขยะรีไซเคิล
Public participation
Efficiency of management
Recycle waste
วันที่เผยแพร่:  22
สำนักพิมพ์: Sukhothai Thammathirat Open University
บทคัดย่อ: The purposes of this study were: (1) to study the public participation in recycling waste management, (2) to measure the efficiency of recycling waste management, and  (3) to investigate the relationship between public participation and efficiency of recycling waste management of Taisamkphao sub-district administrative organization, Phra Phrom district, Nakhon Si Thammarat province.The study was quantitative research. The population was 432 heads of household, who lived in Taisamphao sub-district, Phra Phrom district, Nakhon Si Thammarat province. 209 people were selected as a sample using Taro Yamane formula by accidental sampling method. Data was analyzed using descriptive statistics and inferential statistics. The descriptive statistics included frequency, percentage, means, and standard deviation. The inferential statistics were Pearson Correlation analysis. The results were as follows: (1) public participation in recycling waste management was at a high level. The highest average aspect was the recycling method. The second aspect was the reuse method. The last one was reduced usage. (2) The efficiency of recycling waste management was at a high level. The highest was the period aspect, and the quality and expense aspects were the second and third level respectively. The quantitative aspect was the lowest average. (3) The results of these analyses found that public participation in reduce, and reuse methods were positively related to the efficiency of recycling waste management at a low level. In addition, public participation in the recycling method and the efficiency of recycling waste management have a positive relationship at a moderate level, with the statistical significance at the 0.001 level.
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการขยะรีไซเคิลขององค์การบริหารส่วนตำบลท้ายสำเภา อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช (2) ประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะรีไซเคิลขององค์การบริหารส่วนตำบลท้ายสำเภา อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช และ  (3) ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมของประชาชนกับประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะรีไซเคิล ขององค์การบริหารส่วนตำบลท้ายสำเภา อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราชการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ศึกษา คือ หัวหน้าครัวเรือน ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลท้ายสำเภา อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 432 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างได้ 209 คน ด้วยสูตรทาโร ยามาเน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย  สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า (1) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการขยะรีไซเคิล พบว่า อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การนำกลับมาแปรรูปใหม่ รองลงมา คือ การนำกลับมาใช้ซ้ำ  และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การลดการใช้ (2) ระดับประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะรีไซเคิล พบว่า  อยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านระยะเวลา รองลงมา คือ ด้านคุณภาพ และด้านค่าใช้จ่าย  ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านปริมาณ และ (3) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วม ของประชาชนกับประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะรีไซเคิลขององค์การบริหารส่วนตำบลท้ายสำเภา  อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในการลดการใช้และการนำกลับมาใช้ซ้ำมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับต่ำกับประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะรีไซเคิล อีกทั้งการมีส่วนร่วมของประชาชนในด้านการนำกลับมาแปรรูปใหม่มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลางกับประสิทธิภาพ การบริหารจัดการขยะรีไซเคิล ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.001
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13400
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2653002333.pdf3.4 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น