Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13401
Title: | ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของการจัดทำและบูรณาการแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ภายใต้พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่ แบบบูรณาการ พ.ศ. 2565 : ศึกษากรณีหน่วยงานปฏิบัติ |
Other Titles: | Factors affecting the achievement of making and integrating in provincial development plan and provincial group Development Plan under the Decree about Area-Based Integration Administration B.E.2022 : A Case Study of Operational Agency |
Authors: | นพพล อัคฮาด พัชรมัย โภคาเทพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี การศึกษาเฉพาะกรณี--บริหารรัฐกิจ การบริหารรัฐกิจ การปกครองท้องถิ่น |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับผลสัมฤทธิ์ของการจัดทำและบูรณาการแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของการจัดทำและบูรณาการแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของการจัดทำและบูรณาการแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ภายใต้พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดการศึกษานี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรคือ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ซึ่งไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอนเป็นไปตามที่ มีเมิลเสนอไว้ว่า แนวทางในการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจะต้องพิจารณาจากตัวแปรสังเกต (ตัวแปรอิสระ) โดยจะต้องมีขนาด 20 เท่าขึ้นไปต่อตัวแปรสังเกต จากกรอบแนวทางการศึกษาพบว่ามีจำนวนตัวแปรสังเกตทั้งหมด 4 ตัวแปร และเมื่อคำนวณ 20 เท่าต่อตัวแปรสังเกตจะได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 80 ตัวอย่าง แต่เพื่อสำรองความคลาดเคลื่อนที่อาจจะเกิดขึ้นในการเก็บข้อมูล ผู้ศึกษาจึงกำหนดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 144 คน สำหรับวิธีการสุ่มตัวอย่างในครั้งนี้การสุ่มแบบอาศัยความน่าจะเป็น ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างตามกลุ่มงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05ผลการศึกษา พบว่า (1) ระดับผลสัมฤทธิ์ของการจัดทำและบูรณาการแผนพัฒนาจังหวัดและ กลุ่มจังหวัด ของหน่วยงานปฏิบัติ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ด้านปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ระยะเวลา การปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน มีระดับผลสัมฤทธิ์ในการจัดทำและบูรณาการแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง สังกัดหน่วยงาน และประสบการณ์การทำงาน ด้านแผนและโครงการ มีระดับความสำเร็จผลสัมฤทธิ์ของการจัดทำแผนและบูรณาการแผนพัฒนาจังหวัด และกลุ่มจังหวัด ไม่แตกต่างกัน และ (3) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด เป็นเส้นตรง ทำนายได้ร้อยละ 50.90 โดยปัจจัยแต่ละด้านสามารถทำนายได้ผล ได้ดังนี้ คือ ด้านวิธีการทำงาน ด้านทรัพยากร ด้านงบประมาณ และด้านบุคลากร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13401 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2653002416.pdf | 1.85 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.