กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13402
ชื่อเรื่อง: Factors Affecting Employee Retention in the Office of the Election Commission of Thailand
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ในองค์การของบุคลากร สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: Tapanasin Sukontamat
ฐาปนศิลป์ สุคนธมัท
Pavin Chinachoti
ภาวิน ชินะโชติ
Sukhothai Thammathirat Open University
Pavin Chinachoti
ภาวิน ชินะโชติ
[email protected]
[email protected]
คำสำคัญ: การคงอยู่ในองค์การ บุคลากรสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง แรงจูงใจในการทำงาน
Job Retention
Personnel of the Election Commission Office
Job Motivation
วันที่เผยแพร่:  6
สำนักพิมพ์: Sukhothai Thammathirat Open University
บทคัดย่อ: This study aimed to examine (1) the relationship between personal factors and employee retention at the Office of the Election Commission of Thailand, (2) the level of employee retention at the Office of the Election Commission of Thailand, (3) the level of employee opinions regarding the motivation for the work of Office of the Election Commission and (4) motivational factors affecting the retention at the Office of the Election Commission of Thailand.This research employed a quantitative approach. The population included personnel from the Office of the Election Commission of Thailand, as specified in Office Order No. 107/2567 regarding the appointment of permanent employees and contract staff, following the Election Commission’s regulation on organizational structure management of 2022. The total population was 2,277 personnel. The sample size was determined using Taro Yamane’s method, resulting in 341 participants, selected through convenience sampling. A questionnaire was used as the research instrument. Data was analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, and multiple regression analysis.The findings revealed that (1) personal factors, including gender, age, marital status, education level, job type, years of service, and income, had no significant effect on employee retention at the Office of the Election Commission of Thailand, (2) the level of employee retention at the Office was high, (3) the level of opinions regarding the motivation for the work of Office was high and (4) motivational factors, specifically supervision, relationships with colleagues, and professional status, significantly influenced employee retention, explaining 44.90 percent of the variance, with statistical significance at the 0.05 level.
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลกับการคงอยู่ในองค์การของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (2) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (3) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง และ (4) ปัจจัยแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการคงอยู่ในองค์การของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือบุคลากร ในสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตามคำสั่งสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่ 107/2567 เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานและลูกจ้างประจำของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ให้ดำรงตำแหน่งในส่วนงานของงาน ตามระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการจัดแบ่งส่วนงานของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2565 จำนวน 2,277 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามวิธีของ ทาโร่ ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 341 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณผลการศึกษาพบว่า (1) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการคงอยู่ในองค์การของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง พบว่า เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา ประเภทสายงาน อายุงาน รายได้ ที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อการคงอยู่ในองค์การของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (2) ระดับการคงอยู่ของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง อยู่ในระดับมาก (3) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง อยู่ในระดับมาก และ (4) ปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อการคงอยู่ในองค์การของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง พบว่า ด้านการปกครองบังคับบัญชา ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และด้านสถานะของอาชีพ มีผลต่อการคงอยู่ในองค์การของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยอธิบายได้ร้อยละ 44.90 ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13402
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2653002598.pdf1.09 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น