Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13420
Title: | ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการบังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2558 |
Other Titles: | Legal issue in enforcement of Anti-Money Laundering Act, B.E. 2542 (1999), Fifth Amendment in B.E. 2558 (2015) |
Authors: | เสาวนีย์ อัศวโรจน์ จินดา สิลาโส มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2558 การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการกำหนดความผิดมูลฐานเกี่ยวกับ การยักยอกหรือฉ้อโกงหรือประทุษร้ายต่อทรัพย์หรือกระทำโดยทุจริตตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ ซึ่งกระทำโดยกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใด ซึ่งรับผิดชอบหรือมีประโยชน์เกี่ยวข้องในการดำเนินงานของสหกรณ์ซึ่งเป็นสถาบันการเงินประเภทหนึ่ง (2) ศึกษาอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวกับการรวบรวมพยานหลักฐานและอำนาจในการดำเนินคดีอาญาในความผิดฐานฟอกเงิน (3) ศึกษาการดำเนินการกับทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาและเป็นไปตามมาตรฐานสากล การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาเกี่ยวกับมาตรฐานสากลในด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน จากอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการลักลอบค้ายาเสพติดและวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ค.ศ. 1988 อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร ค.ศ. 2000 อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2003 ต้นแบบกฎหมาย และข้อแนะนำของคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงิน ซึ่งนานาอารยประเทศต้องใช้เป็นแนวทางในประเทศอังกฤษ ประเทศออสเตรเลีย และประเทศฝรั่งเศส เปรียบเทียบกับบทบัญญัติของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่ม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2558 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และพระราชบัญญัติอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง คำพิพากษาของศาล ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา หนังสือ บทความ เอกสารทางวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ และข้อมูลจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 เพื่อแก้ไขปัญหาและเป็นไปตามมาตรฐานสากลผลการศึกษาพบว่า (1) ควรกำหนด มาตรา 3 (4) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ให้ครอบคลุมถึงการกระทำของกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลที่รับผิดชอบหรือมีประโยชน์เกี่ยวข้องในการดำเนินการของสหกรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์เนื่องจากสหกรณ์มีบทบาทและมีความสำคัญในระบบเศรษฐกิจเช่นเดียวกับสถาบันการเงินประเภทธนาคาร (2) ควรกำหนดบทบัญญัติที่เกี่ยวกับอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อดำเนินการกับทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดที่ได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากเลขาธิการ และอำนาจสอบสวนคดีอาญาในความผิดฐานฟอกเงินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาให้มีความชัดเจน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาในการตีความและกำหนดขอบเขตการใช้อำนาจโดยชอบด้วยกฎหมาย และ (3) ในกรณีที่ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดถูกโอน จำหน่าย ยักย้าย ปกปิด หรือถูกซ่อนเร้น ควรกำหนดให้สามารถริบทรัพย์ตามมูลค่าได้ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13420 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2584001156.pdf | 2.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.