Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13421
Title: | มาตรการควบคุมเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ช่วยการเจริญพันธุ์ |
Other Titles: | Measures to control medical technology assisted in reproduction |
Authors: | อิงครัต ดลเจิม ภูธเนศ ภูหาด มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--วิทยานิพนธ์ เทคโนโลยีการเจริญพันธุ์--มาตรฐาน |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาวิวัฒนาการ แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์โดยวิธีการตั้งครรภ์แทน (2) ศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์โดยวิธีการตั้งครรภ์แทนของประเทศไทย ประเทศแคนาดาและเครือรัฐออสเตรเลีย (รัฐควีนส์แลนด์) (3) วิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายในการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ทางการแพทย์โดยวิธีการตั้งครรภ์แทน (4) เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์โดยวิธีการตั้งครรภ์แทนให้มีประสิทธิภาพวิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสาร จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวบทกฎหมาย หนังสือ บทความ เอกสารทางวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์และข้อมูลจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศเพื่อดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายให้มีประสิทธิภาพต่อไปผลการศึกษาพบว่า (1) การใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์โดยวิธีการตั้งครรภ์แทน มีวิวัฒนาการจากการบำบัดรักษาการมีบุตรยากในอดีตใช้วิธีการผสมเทียมต่อมาพัฒนามาเป็นวิธีการตั้งครรภ์แทนปรากฏตามแนวคิดมาจากความต้องการสืบทอดดำรงเผ่าพันธุ์ของชีวิตมนุษย์แก้ไขปัญหาข้อบกพร่องทางกายเอาชนะข้อจำกัดของธรรมชาติเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ไม่สามารถมีบุตรได้หรือผู้ที่มีภาวะการมีบุตรยาก โดยรัฐได้บัญญัติกฎหมายเพื่อควบคุมการตั้งครรภ์แทนเพื่อมิให้ถูกนำไปใช้ในทางมิชอบปรากฏตามทฤษฎีที่รัฐนำมาใช้บัญญัติกฎหมายที่มีโทษ ทางอาญา คือ ทฤษฎีความรับผิดทางอาญาและทฤษฎีการลงโทษทางอาญา (2) มาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยปรากฏในพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ.2558 มาตรการของประเทศแคนาดาปรากฏในพระราชบัญญัติช่วยการเจริญพันธุ์ของมนุษย์ และมาตรการของเครือรัฐออสเตรเลีย (รัฐควีนส์แลนด์) ปรากฏในพระราชบัญญัติการตั้งครรภ์แทน ค.ศ.2010 (3) ในกฎหมายของประเทศแคนาดากำหนดบทลงโทษมาตรการห้ามมิให้ซื้อขายนำเข้าส่งออกอสุจิ ไข่ หรือตัวอ่อนสูงกว่ากฎหมายไทยทั้งโทษจำคุกและปรับ ทั้งกำหนดบทลงโทษการสร้าง เก็บรักษา ใช้ประประโยชน์ ทำให้สิ้นสภาพและเลือกเพศตัวอ่อนให้มีโทษทางอาญาแตกต่างจากกฎหมายไทยซึ่งมีเพียงโทษทางจริยธรรมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ส่วนในกฎหมายของเครือรัฐออสเตรเลีย (รัฐควีนส์แลนด์) กำหนดมาตรการทางกฎหมายชัดเจนแตกต่างจากกฎหมายไทย คือ การกำหนดคำนิยามของการตั้งครรภ์แทนเชิงพาณิชย์และคำนิยามของค่าใช้จ่ายในการตั้งครรภ์แทนที่สามารถจ่ายได้ การกำหนดขอบเขตความรับผิดของบุคลากรทางการแพทย์ให้ชัดเจน กำหนดการคุ้มครองข้อมูลหรือวัตถุของผู้เกี่ยวข้องไว้โดยเฉพาะเจาะจง และการกำหนดการคุ้มครองเด็กครอบคลุมหลังจากเด็กเกิด ซึ่งกฎหมายของประเทศไทยมิได้กำหนดมาตรการทางกฎหมายที่มีโทษทางอาญาให้มีความชัดเจน ครอบคลุม การให้ความคุ้มครองและประสิทธิภาพในการควบคุมการดำเนินการตั้งครรภ์แทนอย่างเพียงพอ (4) ควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ.2558 โดยอาศัยกลไกของพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ.2562 เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพต่อไป โดยกำหนดมาตรการทางกฎหมายให้มีความชัดเจนทั้งคำนิยามและขอบเขตความรับผิด กำหนดบทลงโทษให้มีประสิทธิภาพในการข่มขู่ยับยั้งการกระทำความผิด กำหนดมาตรการในการให้ความคุ้มครองข้อมูลหรือวัตถุของเด็กที่เกิดจากการตั้งครรภ์แทนและผู้เกี่ยวข้องไว้โดยเฉพาะเจาะจง และกำหนดมาตรการในการให้ความคุ้มครองครอบคลุมภายหลังจากเด็กเกิดจากการตั้งครรภ์แทนแล้ว เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพ ความปลอดภัย และประโยชน์สูงสุดของเด็กที่เกิดจากการตั้งครรภ์แทน |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13421 |
Appears in Collections: | Law-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2584001867.pdf | 1.79 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.