Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13426
Title: | การส่งเสริมการจ้างงานและคุ้มครองแรงงานสูงอายุ |
Other Titles: | Employment promotion and protection for older workers |
Authors: | จิราพร สุทันกิตระ กัญณ์ศิริน ใสงาม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี กฎหมายแรงงาน ผู้สูงอายุ--สถานภาพทางกฎหมาย ผู้สูงอายุ--การจ้างงาน--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ การศึกษาอิสระ--กฎหมายธุรกิจ |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงความเป็นมา แนวคิด และทฤษฎี เกี่ยวกับการส่งเสริมการจ้างงานและคุ้มครองแรงงานสูงอายุ (2) ศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมการจ้างงานและคุ้มครองแรงงานสูงอายุตามกฎหมายของประเทศไทย ประเทศสิงคโปร์ และประเทศญี่ปุ่น (3) วิเคราะห์เปรียบเทียบกฎหมายของประเทศไทย ประเทศสิงคโปร์ และประเทศญี่ปุ่น เกี่ยวกับการส่งเสริมการจ้างงานและคุ้มครองแรงงานสูงอายุ (4) เสนอแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหา และการปรับปรุงหรือเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมการจ้างงานและคุ้มครองแรงงานสูงอายุ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยข้อมูลเอกสารจากการรวบรวมข้อมูลเชิงปฐมภูมิ ได้แก่ บทบัญญัติทางกฎหมาย คำพิพากษา และข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ ตำรา งานวิจัย บทความ วารสารทางวิชาการ รายงานจากสถาบันและหน่วยงานต่าง ๆ ตลอดจนข้อมูลทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เพื่อศึกษาถึงความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎี มาตรการทางกฎหมาย วิเคราะห์เปรียบเทียบ และเสนอแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาผลการศึกษาพบว่า (1) ความเป็นมา แนวคิด และทฤษฎี เกี่ยวกับการส่งเสริมการจ้างงานและคุ้มครองแรงงานสูงอายุ มีที่มาจากหลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้สูงอายุ หลักความเสมอภาค การรักษากำลังแรงงานไม่ให้เกิดความขาดแคลน และการรองรับการเป็นสังคมผู้สูงอายุ (2) ประเทศไทยยังไม่มีมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมการจ้างงานและคุ้มครองแรงงานสูงอายุไว้เป็นการเฉพาะ มีเพียงการคุ้มครองลูกจ้างตามกฎหมายแรงงานทั่วไป (3) ตามกฎหมายของประเทศสิงคโปร์ และประเทศญี่ปุ่นมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการส่งเสริมการจ้างงาน การกำหนดสภาพการจ้างให้ได้รับความคุ้มครองอย่างเป็นธรรม รวมถึงการกำหนดหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้างให้มีความสอดคล้องกัน แต่ตามกฎหมายของประเทศไทยที่มีอยู่นั้นยังไม่เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาหรือขจัดอุปสรรคเพื่อให้การส่งเสริมการจ้างงานและคุ้มครองแรงงานสูงอายุบรรลุผล (4) มีความจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีมาตรการทางกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงเสนอแนวทาง ดังนี้ ประการแรก ให้มีการร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการจ้างแรงงานสูงอายุ พ.ศ. ... โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับการกำหนดคำนิยามของคำว่า “แรงงานสูงอายุ” การสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือแก่ลูกจ้าง การจ้างงานภายหลังที่ถึงกำหนดเกษียณ การกำหนดลักษณะงานที่เหมาะสม และหน้าที่ของนายจ้างในการให้ความร่วมมือกับภาครัฐ ประการที่ 2 การเพิ่มเติมบทบัญญัติในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับการป้องกันการกีดกันแรงงานสูงอายุ การกำหนดสภาพการจ้างอย่างเป็นธรรม และประการ ที่ 3 การประกาศกระทรวงแรงงานว่าด้วยลักษณะงานที่เหมาะสมกับแรงงานสูงอายุ ทั้งนี้ เพื่อให้การส่งเสริมการจ้างงานและคุ้มครองแรงงานสูงอายุของประเทศไทยมีความเหมาะสมและเป็นธรรม |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13426 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2614000541.pdf | 1.22 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.