Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13431
Title: | คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองเรียกเงินคืนจากเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้รับไปโดยไม่มีสิทธิหรือได้รับเกินสิทธิ |
Other Titles: | Dispute cases concerning administrative agency reclaiming money from official which received without rights or in excess of their rights |
Authors: | ศาสดา วิริยานุพงศ์ กมลภัทร์ วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี การทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์--ลาภมิควรได้ การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองเรียกเงินคืนจากเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้รับไปโดยไม่มีสิทธิหรือได้รับเกินสิทธิ (2) ศึกษากฎหมายเกี่ยวกับสถานะของหนังสือที่หน่วยงานทางปกครองเรียกเงินคืน เขตอำนาจศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา และการปรับใช้บทบัญญัติกฎหมายของศาลในคดีพิพาทดังกล่าวในประเทศไทยและเปรียบเทียบกฎหมายของสาธารณรัฐฝรั่งเศส และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (3) วิเคราะห์ปัญหาคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองเรียกเงินคืนจากเจ้าหน้าที่ที่ได้รับโดยไม่มีสิทธิหรือได้รับเกินสิทธิ (4) เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองเรียกเงินคืนจากเจ้าหน้าที่ที่ได้รับโดยไม่มีสิทธิหรือได้รับเกินสิทธิการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยทางนิติศาสตร์ โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการค้นคว้าและวิจัยเชิงเอกสาร โดยทำการศึกษาจากตัวบทกฎหมาย ตำรากฎหมาย บทความ งานวิจัย วารสารทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ความเห็นทางกฎหมาย รวมทั้งฐานข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ และทำการศึกษาเปรียบเทียบ กับสาธารณรัฐฝรั่งเศส และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และนำเสนอผลการศึกษาเชิงพรรณนา เพื่อได้ข้อสรุปและแนวทางในการแก้ไขปัญหาคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองเรียกเงินคืนจากเจ้าหน้าที่ที่ได้รับโดยไม่มีสิทธิหรือได้รับเกินสิทธิ ผลการศึกษาพบว่า (1) การพิจารณาพิพากษาคดีปัจจุบันคำนึงถึงหลักการกระทำทางปกครองต้องชอบด้วยกฎหมายและเป็นการมุ่งคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ โดยมิได้คำนึงถึงหลักความเชื่อโดยสุจริตในความคงอยู่ของคำสั่งทางปกครอง นิติวิธีหรือการตีความทางกฎหมายมหาชน และความผูกพันต่อกฎหมายของฝ่ายตุลาการแต่อย่างใด (2) การเรียกเงินคืนจากเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้รับไปโดยไม่มีสิทธิหรือได้รับเกินสิทธิไม่ปรากฏว่ามีบทบัญญัติของกฎหมายกำหนดให้อำนาจแก่หน่วยงานทางปกครองในการเรียกเงินคืนหนังสือเรียกเงินคืนดังกล่าวจึงไม่มีสถานะเป็นคำสั่งทางปกครอง ทำให้คดีพิพาทไม่อยู่ในเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองโดยศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีมิได้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาบังคับใช้โดยอนุโลม (3) เนื่องจากไม่มีบทบัญญัติกฎหมายให้อำนาจหน่วยงานทางปกครองในการเรียกเงินคืนโดยทำเป็นคำสั่งทางปกครอง แต่โดยลักษณะของคดีพิพาทดังกล่าวมิใช่คดีพิพาทที่เกิดจากการใช้อำนาจทางปกครองหรือเป็นการดำเนินกิจการทางปกครองแต่อย่างใด จึงมิใช่คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง แต่เป็นคดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมซึ่งศาลยุติธรรมเห็นว่าการจ่ายเงินให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมิใช่การกระทำเพื่อชำระหนี้หรือได้มาโดยประการอื่นโดยปราศจากมูลจะอ้างกฎหมายได้หากแต่เป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับเงินไปโดยไม่ชอบ กรณีจึงไม่ใช่เรื่องลาภมิควรได้แต่เกิดจากหน่วยงานทางปกครองส่งมอบเงินให้โดยสำคัญผิดจึงมีสิทธิติดตามเอาคืนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 และ (4) เห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติมาตรา 51 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 โดยกำหนดว่าการใช้สิทธิเรียกเงินคืนของหน่วยงานทางปกครองต้องทำเป็นคำสั่งทางปกครองเป็นหนังสือ ซึ่งจะทำให้หน่วยงานทางปกครองมีฐานอำนาจในการออกคำสั่งทางปกครองเรียกเงินคืนทำให้คู่กรณีสามารถนำข้อพิพาทดังกล่าวมาฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้และทำให้คู่กรณีได้รับการคุ้มครองตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13431 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2614001820.pdf | 1.35 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.