Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13434
Title: Legal Issues Concerning Agencies with the Duty and Power to Prevent and Suppress Corruption According to the Organic Act on Prevention and Suppression of Corruption B.E. 2561
ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับหน่วยงานที่มีหน้าที่และอำนาจป้องกันและปราบปรามการทุจริตตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561
Authors: ARSINA JITPROMMA
อาศิณา จิตรพรหมมา
Pawinee Praithong
ปวินี ไพรทอง
Sukhothai Thammathirat Open University
Pawinee Praithong
ปวินี ไพรทอง
[email protected]
[email protected]
Keywords: ปราบปรามการทุจริต  พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ทุจริต
Anti-Corruption
Organic Act on Anti-Corruption B.E. 2561
Corruption
Issue Date:  26
Publisher: Sukhothai Thammathirat Open University
Abstract: This independent study aims to (1) examine the history, concepts, and theories related to the powers, duties, and prosecution procedures of the National Anti-Corruption Commission (NACC); (2) examine the laws governing the powers, duties, and prosecution procedures of anti-corruption agencies in Thailand, the Republic of Singapore, and the Hong Kong Special Administrative Region of the People’s Republic of China; (3) identify legal issues related to the powers, duties, and prosecution procedures of the NACC; and (4) propose solutions to address legal challenges related to the NACC’s functions under the Organic Act on Anti-Corruption B.E. 2561.This research employs a qualitative approach using documentary research. Data collection includes a review of Thai and foreign laws, the Constitution of the Kingdom of Thailand 2017, organic laws, relevant statutes, and general regulations in Thailand. Historical laws, legal commentaries, academic articles both in Thai and foreign languages, conference reports, electronic datasets, and other scholarly documents are also considered.The results showed that (1) Article 234 (2), second paragraph of the Constitution of the Kingdom of Thailand 2017, and Articles 61-64 of the Organic Act on Anti-Corruption B.E. 2561 allow the (NACC) to delegate matters within its jurisdiction to other agencies, including police . investigators, the Public Sector Anti-Corruption Commission (PACC), and supervisors or appointing authorities. (2) In contrast, the anti-corruption agencies in the Republic of Singapore and the Hong Kong Special Administrative Region do not have the authority to delegate their duties, yet both jurisdictions maintain effective, and fair anti-corruption mechanisms. (3) The main issue in Thailand is the procedural discrepancy between the (NACC, which employs an inquisitorial system, and police investigators, who follow an accusatorial system governed by the Criminal Procedure Code. This leads to inconsistencies in legal proceedings and may result in unfairness for the accused. Moreover, delegating responsibilities to supervisors or appointing authorities is inconsistent with the NACC’s oversight role as stipulated by the Constitution, adding unnecessary burdens to other agencies. (4) The study recommends: (1) amending Article 234 of the Constitution of the Kingdom of Thailand 2017, specifically Section 234(2), to specify that state officials under the jurisdiction of the NACC must hold positions at the director-general level or its equivalent and above; (2) revise section 234, second paragraph of the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2560, by removing the provision that allows delegation of matters to other state agencies; ). (3) repeal Section 61-66 of the Organic Act on Anti-Corruption B.E. 2561.
การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาประวัติความเป็นมา ความหมาย แนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่และการดำเนินคดีของคณะกรรมการ ป.ป.ช. (2) ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่และการดำเนินคดีของหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการทุจริตในประเทศไทยสาธารณรัฐสิงคโปร์ และเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (3) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่และการดำเนินคดีของคณะกรรมการ ป.ป.ช. (4) ได้แนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่และการดำเนินคดีของ คณะกรรมการ ป.ป.ช.การศึกษาค้นคว้านี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยด้วยการค้นคว้าจากเอกสารโดยค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากกฎหมายไทย กฎหมายของสาธารณรัฐสิงคโปร์ และกฎหมายของเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ กฎหมายอื่น ๆ และระเบียบที่ใช้บังคับทั่วไปในประเทศไทย กฎหมายในอดีต ตำราหรือคำอธิบายทางกฎหมาย บทความทางวิชาการทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ รายงานการประชุม ชุดข้อมูลทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์และสารสนเทศ และเอกสารทางวิชาการ ทางกฎหมายอื่น ๆผลจากการศึกษาพบว่า (1) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 234 (2) วรรคสอง และพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 61 – 64 กำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจมอบหมายเรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ให้กับหน่วยงานอื่นดำเนินการได้ ไม่ว่าจะเป็นพนักงานสอบสวน คณะกรรมการ ป.ป.ท. และผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอน (2) สำหรับหน่วยงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในสาธารณรัฐสิงคโปร์และเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจหน่วยงานที่ทำหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการทุจริตสามารถมอบหมายเรื่องให้แก่หน่วยงานอื่นไปดำเนินการแทน แต่การป้องกันและปราบปรามการทุจริตของทั้งสองประเทศก็มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และเป็นธรรม (3) ปัญหาที่พบคือ การดำเนินคดีของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และคณะกรรมการ ป.ป.ท. ใช้ระบบไต่สวน แต่การดำเนินคดีของพนักงานสอบสวนใช้ระบบกล่าวหาโดยดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จึงทำให้เกิดปัญหาการลักลั่นในกระบวนการดำเนินคดีและยังก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมกับผู้ถูกกล่าวหา ส่วนกรณีมอบหมายให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอน ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นผู้ตรวจสอบ และเป็นการเพิ่มภาระหน้าที่ให้กับหน่วยงานผู้รับเรื่องซึ่งมิใช่หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (4) ข้อเสนอแนะคือ 1) ต้องเพิ่มบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 234 (2) โดยกำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่อำนวยการระดับสูงหรือเทียบเท่าขึ้นไป 2) แก้ไขบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 234 วรรคสอง โดยตัดข้อความในส่วนของการมอบหมายเรื่องให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการแทนออก 3) ให้ยกเลิกบทบัญญัติมาตรา  61 – 66 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13434
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2614003503.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.