Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13434
Title: ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับหน่วยงานที่มีหน้าที่และอำนาจป้องกันและปราบปรามการทุจริตตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561
Other Titles: Legal issues concerning agencies with the Duty and Power to Prevent and Suppress Corruption According to the Organic Act on Prevention and Suppression of Corruption B.E. 2561
Authors: ปวินี ไพรทอง
อาศิณา จิตรพรหมมา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
การทุจริตและประพฤติมิชอบทางการเมือง
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาประวัติความเป็นมา ความหมาย แนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่และการดำเนินคดีของคณะกรรมการ ป.ป.ช. (2) ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่และการดำเนินคดีของหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการทุจริตในประเทศไทยสาธารณรัฐสิงคโปร์ และเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (3) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่และการดำเนินคดีของคณะกรรมการ ป.ป.ช. (4) ได้แนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่และการดำเนินคดีของ คณะกรรมการ ป.ป.ช.การศึกษาค้นคว้านี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยด้วยการค้นคว้าจากเอกสารโดยค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากกฎหมายไทย กฎหมายของสาธารณรัฐสิงคโปร์ และกฎหมายของเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ กฎหมายอื่น ๆ และระเบียบที่ใช้บังคับทั่วไปในประเทศไทย กฎหมายในอดีต ตำราหรือคำอธิบายทางกฎหมาย บทความทางวิชาการทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ รายงานการประชุม ชุดข้อมูลทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์และสารสนเทศ และเอกสารทางวิชาการ ทางกฎหมายอื่น ๆ ผลจากการศึกษาพบว่า (1) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 234 (2) วรรคสอง และพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 61 – 64 กำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจมอบหมายเรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ให้กับหน่วยงานอื่นดำเนินการได้ ไม่ว่าจะเป็นพนักงานสอบสวน คณะกรรมการ ป.ป.ท. และผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอน (2) สำหรับหน่วยงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในสาธารณรัฐสิงคโปร์และเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจหน่วยงานที่ทำหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการทุจริตสามารถมอบหมายเรื่องให้แก่หน่วยงานอื่นไปดำเนินการแทน แต่การป้องกันและปราบปรามการทุจริตของทั้งสองประเทศก็มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และเป็นธรรม (3) ปัญหาที่พบคือ การดำเนินคดีของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และคณะกรรมการ ป.ป.ท. ใช้ระบบไต่สวน แต่การดำเนินคดีของพนักงานสอบสวนใช้ระบบกล่าวหาโดยดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จึงทำให้เกิดปัญหาการลักลั่นในกระบวนการดำเนินคดีและยังก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมกับผู้ถูกกล่าวหา ส่วนกรณีมอบหมายให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอน ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นผู้ตรวจสอบ และเป็นการเพิ่มภาระหน้าที่ให้กับหน่วยงานผู้รับเรื่องซึ่งมิใช่หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (4) ข้อเสนอแนะคือ 1) ต้องเพิ่มบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 234 (2) โดยกำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่อำนวยการระดับสูงหรือเทียบเท่าขึ้นไป 2) แก้ไขบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 234 วรรคสอง โดยตัดข้อความในส่วนของการมอบหมายเรื่องให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการแทนออก 3) ให้ยกเลิกบทบัญญัติมาตรา  61 – 66 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13434
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2614003503.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.