Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13437
Title: การตรวจสอบค้นหาความจริง : ศึกษากรณีการรวบรวมพยานหลักฐานในชั้นก่อนการดำเนินคดีอาญาของพนักงานสอบสวน
Other Titles: Case study of the collecting evidence step done by investigating officers before a criminal prosecution
Authors: อิงครัต ดลเจิม
ณรงค์ อภิเมธีธำรง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
พยานหลักฐานคดีอาญา
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบค้นหาความจริง กรณีการรวบรวมพยานหลักฐานในชั้นก่อนการดำเนินคดีอาญาของพนักงานสอบสวน (2) ศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการตรวจสอบค้นหาความจริง กรณีการรวบรวมพยานหลักฐานในชั้นก่อนการดำเนินคดีอาญาของพนักงานสอบสวนของประเทศไทย และสาธารณรัฐฝรั่งเศสกับประเทศญี่ปุ่น (3) ศึกษาวิเคราะห์การตรวจสอบค้นหาความจริง กรณีการรวบรวมพยานหลักฐานในชั้นก่อนการดำเนินคดีอาญาของพนักงานสอบสวน (4) เสนอแนะแก้ไขบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเกี่ยวกับการตรวจสอบค้นหาความจริง กรณีการรวบรวมพยานหลักฐานในชั้นก่อนการดำเนินคดีอาญาของพนักงานสอบสวนเพื่อให้มีผลบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีวิจัยจากบทความในวารสาร เอกสารทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ และเปรียบเทียบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของประเทศไทย และเอกสารของสาธารณรัฐฝรั่งเศสและของประเทศญี่ปุ่นในส่วนที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับความเป็นธรรมในคดี แนวคิดเกี่ยวกับการรวบรวมพยานหลักฐาน แนวคิดเกี่ยวกับการสอบสวนคดีอาญาและแนวคิดเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา และทฤษฎีที่ปรากฏในเรื่องนี้ได้แก่ ทฤษฎีว่าด้วยกระบวนการยุติธรรมและการควบคุมอาชญากรรม (2) กฎหมายที่ใช้ในประเทศไทยได้แก่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ส่วนสาธารณรัฐฝรั่งเศส ได้แก่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของสาธารณรัฐฝรั่งเศส และประเทศญี่ปุ่นใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของประเทศญี่ปุ่น (3) การค้นหาความจริงในคดีอาญาโดยเฉพาะการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานในชั้เจ้าพนักงานของประเทศไทยนั้นแตกต่างจากประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศสและประเทศญี่ปุ่น ซึ่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสและประเทศญี่ปุ่นไม่ได้แยกอำนาจสอบสวนฟ้องร้องออกจากกัน หน่วยงานที่รับผิดชอบในการสอบสวนคือพนักงานอัยการ แต่สำหรับประเทศไทยกระบวนการยุติธรรมทางอาญาได้แยกอำนาจสอบสวน ฟ้องร้อง และการพิจารณาคดีออกจากกันอย่างเด็ดขาด อำนาจสอบสวนเป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวน อำนาจฟ้องร้องดำเนินคดีเป็นอำนาจของพนักงานอัยการ (4) แนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการใช้อำนาจสอบสวนของพนักงานสอบสวนควรค้นหาความจริงให้ครอบคลุมทั้งสองด้าน ทั้งด้านที่เป็นความผิดและด้านที่เป็นประโยชน์เป็นคุณแก่ผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในมาตรา 131 และ 138 อีกทั้งควรเพิ่มบทบัญญัติให้พนักงานอัยการมีอำนาจร่วมทำการสอบสวนในคดีอาญาทุกประเภทความผิดด้วยโดยพนักงานอัยการจะทำการสอบสวนเอง หรือมอบหมายให้ตำรวจเป็นผู้สอบสวนแทนก็ได้ แต่ทั้งนี้การสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของพนักงานอัยการ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13437
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2614003990.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.