กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13442
ชื่อเรื่อง: | Legal Measures to Control Air Pollution from Particulate Matter Smaller than 2.5 Microns (PM2.5) in Bangkok and the Metropolitan Area มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมมลพิษทางอากาศจากฝุ่นละอองขนาด ไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | NANTAPORN KONGSAMRUAY นันทพร คงสำรวย Sartsada Wiriyanupong ศาสดา วิริยานุพงศ์ Sukhothai Thammathirat Open University Sartsada Wiriyanupong ศาสดา วิริยานุพงศ์ [email protected] [email protected] |
คำสำคัญ: | กฎหมายเกี่ยวกับฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน การควบคุมมลพิษทางอากาศ มาตรการ PM2.5 laws Air pollution control Legal Measures |
วันที่เผยแพร่: | 21 |
สำนักพิมพ์: | Sukhothai Thammathirat Open University |
บทคัดย่อ: | This independent research aims to: (1) study legal concepts and theories related to air pollution control and the establishment of air particulate matter standards, particularly PM2.5; (2) examine legal measures for controlling PM2.5 pollution in Thailand; (3) study and compare legal measures for controlling PM2.5 pollution in other countries, such as the United States, Japan, and the European Union, with those in Thailand; and (4) propose recommendations for improving Thailand's legal measures to enhance the effectiveness of air pollution control from PM2.5 particles. This independent research employs qualitative methods through document-based research, gathering information from the Constitution of the Kingdom of Thailand, B.E. 2560 (2017), relevant laws and regulations, textbooks, theses, dissertations, academic papers, articles, journals, and related electronic media from both Thai and international sources. The aim is to analyze approaches for improving Thailand's legal measures for air pollution control from PM2.5. The findings reveal: (1) controlling air pollution PM2.5 requires the state to balance public interest with individual rights and freedoms; (2) Thailand’s legal framework for controlling PM2.5 pollution is structured across multiple levels, from the Constitution to local ordinances; (3) while Thailand, the United States, Japan, and the European Union all have laws establishing national environmental policies, Thailand lacks a law specifically designed to address environmental pollution, unlike Japan and the United States; (4) it is recommended that Thailand enact laws directly targeting environmental pollution, consolidate existing environmental laws into a cohesive code, revise PM2.5 air quality standards to align with the World Health Organization’s guidelines, integrate pollution management policies across agencies, and enhance tools for enforcement and monitoring. การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวความคิดและทฤษฎีทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการควบคุมมลพิษทางอากาศและการกำหนดค่ามาตรฐานฝุ่นละอองในบรรยากาศ ตลอดจนมาตรการในการควบคุมมลพิษทางอากาศจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (2) ศึกษามาตรการทางกฎหมายในการควบคุมฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในประเทศไทย (3) ศึกษามาตรการทางกฎหมายในการควบคุมฝุ่น ละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ของต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป เปรียบเทียบกับประเทศไทย และ (4) เสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมมลพิษทางอากาศจากฝุ่นละอองขนาด ไม่เกิน 2.5 ไมครอน ของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร โดยศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 และกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งตำรากฎหมาย สารนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ เอกสารทางวิชาการ บทความทางวิชาการ วารสารและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้อง ทั้งของไทยและต่างประเทศ เพื่อนำมาวิเคราะห์แนวทางในการปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมมลพิษทางอากาศ จากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ของประเทศไทย ผลการศึกษา พบว่า (1) การควบคุมมลพิษทางอากาศจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน รัฐต้องสร้างดุลยภาพระหว่างประโยชน์สาธารณะกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน (2) มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในประเทศไทย มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายระดับ ตั้งแต่ระดับสูงสุด คือ รัฐธรรมนูญ จนถึงข้อบัญญัติท้องถิ่น (3) ประเทศไทย ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ต่างมีกฎหมายว่าด้วยการกำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของชาติ แต่ประเทศไทยไม่มีกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์โดยตรงในการควบคุมและแก้ไขปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม ซึ่งแตกต่างจากประเทศญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา (4) เห็นควรออกกฎหมายเพิ่มแนวนโยบายแห่งรัฐที่รัฐพึงดำเนินการเกี่ยวกับปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมโดยตรง ควรจัดทำประมวลกฎหมายสิ่งแวดล้อม ในรูปแบบประมวลกฎหมายแบบรวบรวมเอากฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ ประมวลเข้าเป็นหมวดหมู่ ควรปรับปรุงค่ามาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในบรรยากาศให้เป็นไปตามค่าแนะนำคุณภาพอากาศ ขององค์การอนามัยโลก รวมทั้งควรบูรณาการทางด้านโยบายเกี่ยวกับการบริหารจัดการ และหน่วยงานด้านการควบคุมมลพิษเข้าไว้ด้วยกัน และเพิ่มเครื่องมือสนับสนุนการตรวจสอบและบังคับใช้กฎหมาย |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13442 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2624001315.pdf | 1.13 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น