Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13446
Title: | ปัญหาการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของผู้ต้องหาในคดีอาญาศึกษากรณีการขอปล่อยชั่วคราวในชั้นพนักงานอัยการ |
Other Titles: | Problem of protection the rights and liberties of the Accused in criminal Cases.A study of the request for temporary release at the prosecutor’s level |
Authors: | ปัณณวิช ทัพภวิมล ณัชนันทน์ ลำเภา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี การปล่อยชั่วคราว สิทธิผู้ต้องหา การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด หลักการ ทฤษฎี และความหมายเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของผู้ต้องหาในการขอปล่อยชั่วคราว (2) ศึกษาสิทธิและเสรีภาพของผู้ต้องหาในการขอปล่อยชั่วคราวในชั้นเจ้าพนักงานของสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ (3) วิเคราะห์เปรียบเทียบการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของผู้ต้องหาในการขอปล่อยชั่วคราวในชั้นพนักงานอัยการ (4) เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของผู้ต้องหาในการปล่อยชั่วคราวในชั้นพนักงานอัยการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิจัยเอกสาร บทความ วิทยานิพนธ์ สิ่งตีพิมพ์ทางกฎหมาย รวมทั้งข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายในการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของผู้ต้องหาในการปล่อยชั่วคราว ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้ต้องหาที่ได้รับการปล่อยชั่วคราวมีโอกาสต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่ (2) สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือมีการพัฒนาวิธีการและหลักเกณฑ์การปล่อยชั่วคราวโดยการตรากฎหมายการประกันตัว และกฎหมายประเทศไทยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญและกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยการปล่อยชั่วคราว ได้เปิดโอกาสให้เจ้าพนักงานใช้ดุลพินิจในการพิจารณาปล่อยชั่วคราวไว้กว้างเกินไป (3) ปัญหาที่พบในการปล่อยชั่วคราวตามกฎหมายของไทยคือ พนักงานอัยการใช้ดุลพินิจในการปล่อยชั่วคราวโดยคำนึงถึงหลักทรัพย์เป็นสำคัญ อีกทั้งไม่มีบทลงโทษผู้ต้องหาหนีหรือจะหลบหนีโดยมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนกฎหมายไม่ให้สิทธิผู้ต้องหาอุทธรณ์คำสั่งของพนักงานอัยการที่ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว (4) ข้อเสนอแนะคือ แก้ไขกฎหมายให้พนักงานอัยการพิจารณาตรวจสำนวนเบื้องต้นโดยเร็วเพื่อสั่งปล่อยชั่วคราวโดยมีหลักประกันด้วยหรือไม่, กรณีผู้ถูกปล่อยชั่วคราวยินยอมให้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โดยมีประกัน ห้ามเรียกหลักประกันร่วมด้วย รวมถึงกรณีจะหลบหนีหรือหนีระหว่างปล่อยชั่วคราวโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้มีบทลงโทษและให้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ปล่อยชั่วคราวไปยังอธิบดีอัยการหรืออธิบดีอัยการภาค |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13446 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2634000620.pdf | 1.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.