Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13449
Title: | การไม่ไต่สวนมูลฟ้องในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ |
Other Titles: | Failure to investigate the basis of prosecution in cases in which the prosecutor is the plaintiff |
Authors: | เกวลิน ต่อปัญญาชาญ อวิรุทธ์ สุเพ็งคำภา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี การไต่สวนมูลฟ้อง การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการค้นหาความจริง การไต่สวนมูลฟ้อง และสิทธิและเสรีภาพของผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ (2) ศึกษาและเปรียบเทียบกระบวนการเกี่ยวกับการไต่สวนมูลฟ้องในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์กฎหมายของประเทศไทยและกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐฝรั่งเศส และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (3) วิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการไต่สวนมูลฟ้องในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ (4) เสนอแนะการปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในเรื่องเกี่ยวกับการไต่สวนมูลฟ้องในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีวิจัยทางเอกสารได้แก่ การศึกษาจากหนังสือ บทความที่เกี่ยวข้องทั้งไทยและต่างประเทศ วารสาร คำพิพากษาของศาลที่เกี่ยวข้อง กฎหมายของไทยและกฎหมายของต่างประเทศ ศึกษาจากวิทยานิพนธ์และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษา อีกทั้ง ศึกษาค้นคว้าจากทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตประกอบกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์และเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในเรื่องเกี่ยวกับการไต่สวนมูลฟ้องในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ผลการศึกษาพบว่า (1) ทฤษฎีค้นหาความจริง มีหลักว่า ต้องค้นหาข้อเท็จจริงหรือหลักฐานของคดีเพื่อให้ได้ข้อยุติตามความจริง ไม่ว่าข้อเท็จจริงหรือหลักฐานนั้นจะเป็นผลดีหรือผลร้ายต่อผู้ต้องหาก็ต้องนำมาเพื่อพิสูจน์ความผิดหรือบริสุทิ์ของผู้ต้องหา และเมื่อศึกษาหลักแนวคิดเกี่ยวกับการไต่สวนมูลฟ้องพบว่า เป็นหลักการกลั่นกรองคดีอาญาที่จะเข้าสู่กระบวนพิจารณาของศาล โดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขจำกัดสิทธิการดำเนินคดีแต่ต้องไม่เกินความจำเป็น ส่วนการศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพพบว่า หลักการนี้มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนมาถึงปัจจุบัน จนมาถึงแนวคิดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยยังเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมีคำพิพากษาจนถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทำความผิด ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะได้รับการปฏิบัติดังเช่นผู้กระทำความผิดมิได้ (2) กระบวนการไต่สวนมูลฟ้องในคดีอาญาของประเทศสหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐฝรั่งเศส มีการไต่สวนมูลฟ้องในคดีอาญาโดยแบ่งประเภทคดีตามความร้ายแรงของระดับโทษเป็น 3 ประเภท ส่วนของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีมีการแบ่งประเภทคดีออกเป็น 2 ประเภท เฉพาะคดีที่มีโทษร้ายแรงและระดับกลางเท่านั้น เนื่องจากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีได้มีการยกเลิกคดีประเภทโทษเบาไปแล้วในปัจจุบัน โดยประเทศสหรัฐอเมริกาให้ผู้ถูกฟ้องมีสิทธิตั้งทนายเข้ามาช่วยเหลือในคดีและมีสิทธิทำคำให้การในชั้นไต่ส่วนมูลฟ้อง สาธารณรัฐฝรั่งเศสให้ผู้ถูกฟ้องมีสิทธิตั้งทนายเข้ามาในคดีและนำพยานหลักฐานมาหักล้างได้ อีกทั้งสามารถไม่ตอบคำถามหรือไม่เปิดเผยข้อต่อสู้ของตนได้ ส่วนสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีมีสิทธิตั้งทนายช่วยเหลือคดีและมีสิทธิยื่นบัญชีระบุพยานหรือทำข้อคัดค้านต่างๆภายในเวลาที่กำหนด ส่วนประเทศไทยในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง คดีที่ราษฎรเป็นโจทก์มีสิทธิเพียงตั้งทนายเข้ามาถามค้านพยานของผู้ฟ้อง และคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ในทางปฏิบัติศาลประทับรับฟ้องทันที (3) จากการวิเคราะห์การกระบวนการไต่สวนมูลฟ้องในคดีอาญาของต่างประเทศและการไต่สวนมูลฟ้องในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของไทย พบว่ามีปัญหา 3 ประการ ได้แก่ การจำกัดสิทธิของผู้ถูกฟ้องคดีในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง การไม่ไต่สวนมูลฟ้องในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ และการที่กฎหมายยังไม่มีความชัดเจนในประเภทคดีที่ต้องมีการไต่สวนมูลฟ้องและคดีที่ไม่จำเป็นต้องไต่สวนมูลฟ้อง (4) เห็นควรเสนอให้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยให้ผู้ถูกฟ้องหรือจำเลยมีอำนาจนำพยานมาสืบในชั้นไต่สวนมูลฟ้องและไม่ตัดสิทธิในการที่จำเลยจะมีทนายความมาช่วยเหลือ และให้ศาลไต่สวนมูลฟ้องในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ซึ่งเป็นคดีที่มีโทษร้ายแรงหมายถึงคดีที่มีโทษจำคุกสิบปีขึ้นไป กรณีคดีที่มีโทษชั้นปานกลางหมายถึง คดีที่มีโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งเดือนขึ้นไปแต่ไม่เกินสิบปีไม่จำเป็นต้องไต่สวนมูลฟ้อง เว้นแต่คดีนั้นมีความยุ่งยากซับซ้อน หรือพนักงานอัยการร้องขอ หรือผู้ถูกกล่าวหาร้องขอและศาลเห็นสมควรให้ทำการไต่สวนคดีนั้น ส่วนคดีที่มีโทษชั้นเบาหมายถึงคดีความผิดลหุโทษและคดีความผิดทางพินัย ไม่จำเป็นต้องไต่สวนมูลฟ้อง เพื่อให้เกิดการกลั่นกรอง ตรวจสอบ ถ่วงดุลในการฟ้องคดีของพนักงานอัยการ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13449 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2634000950.pdf | 1.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.