กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13450
ชื่อเรื่อง: การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนศึกษากรณีการรวบรวมข้อเท็จจริงในชั้นสอบสวนคดีอาญา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: People’s right and liberty protection, case study: facts gathering in criminal inquiry stage
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อิงครัต ดลเจิม
แสวง สำราญดี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
เกวลิน ต่อปัญญาชาญ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--วิทยานิพนธ์
กฎหมายกับข้อเท็จจริง
วิธีพิจารณาความอาญา
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนศึกษากรณีการรวบรวมข้อเท็จจริงในชั้นสอบสวนคดีอาญา (2)  ศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนกรณีรวบรวมข้อเท็จจริงในชั้นสอบสวนคดีอาญาในประเทศไทย  ประเทศญี่ปุ่น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สาธารณรัฐฝรั่งเศส  และมาตรฐานขององค์การสหประชาชาติ (3) วิเคราะห์สภาพปัญหาในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนกรณีการรวมรวบข้อเท็จจริงในชั้นสอบสวนคดีอาญา (4) เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนกรณีการรวบรวมข้อเท็จจริงในชั้นสอบสวนคดีอาญาให้มีประสิทธิภาพ วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสารโดยศึกษาจากหนังสือ ตำรา เอกสาร บทบัญญัติของกฎหมาย บทความ รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ บทความทางวิชาการ และ ข้อมูลทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิดในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนกรณีการรวบรวมข้อเท็จจริงในชั้นสอบสวนคดีอาญาเป็นไปตามแนวคิดในหลักการตรวจสอบเพื่อให้ได้ความจริงแท้โดยปรากฏทฤษฎีที่เกี่ยวข้องคือหลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน หลักนิติรัฐ หลักนิติธรรม หลักความเสมอภาค หลักความได้สัดส่วนและหลักภารกิจของรัฐ (2) มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนกรณีรวบรวมข้อเท็จจริงในชั้นสอบสวนคดีอาญา ของประเทศไทยปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและประมวลกฎหมายวิธีพพิจารณาความอาญา ส่วนมาตรการในประเทศญี่ปุ่น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สาธารณรัฐฝรั่งเศสปรากฏตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของประเทศนั้น ๆ สำหรับมาตรฐานขององค์การสหประชาชาติปรากฏตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (3)ในระบบกฎหมายของประเทศญี่ปุ่นสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สาธารณรัฐฝรั่งเศสตลอดจนมาตรฐานขององค์การสหประชาชาติมีการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของผู้ที่เข้าสู่กระบวนการในชั้นสอบสวนคดีอาญาอย่างเคร่งครัดแต่ในการรวบรวมข้อเท็จจริงในชั้นสอบสวนคดีอาญาของไทยที่มีการดำเนินการผ่านสื่อออนไลน์อาจมีการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายให้ความคุ้มครอง (4) ควรมีการแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 135 โดยอาศัยกลไกของพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพต่อไป
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13450
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2634001131.pdf2.24 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น