Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13451
Title: Problems of prosecution of road traffic cases at the Police inquiry level, in cases the offender is a victim's family member
ปัญหาในการดำเนินคดีจราจรชั้นพนักงานสอบสวนกรณีผู้ต้องหาเป็นบุคคลในครอบครัวของผู้เสียหาย
Authors: TATCHAI SUBSUEBWONG
ทัตชัย ทรัพย์สืบวงศ์
Punnawit Tuppawimol
ปัณณวิช ทัพภวิมล
Sukhothai Thammathirat Open University
Punnawit Tuppawimol
ปัณณวิช ทัพภวิมล
[email protected]
[email protected]
Keywords: คดีจราจร ไกล่เกลี่ย ครอบครัวของผู้เสียหาย
Traffic cases
mediation
victim's family member
Issue Date:  31
Publisher: Sukhothai Thammathirat Open University
Abstract: This independent study is qualitative research based on documented research. The researcher gathered all the relevant information from Laws of Thailand Laws of the State of New York, United States of America and Laws of the Republic of Singapore. Including books, articles, journals, academic documents, research papers, theses and information from internet both in Thai and English languages.The results of the study show that (1) the concept of maintaining the family institution found in many Thai laws, is a necessary for using as the basis for road traffic cases if the offender is a family member of the victim. (2) The Criminal Procedure Code of the State of New York, USA, provides provisions regarding the preservation of the family institution. By designating a mediator who is a person in the judicial process, whether a Police officer, Probation officer, Attorney and public prosecutor to serve as an intermediary and counselor in legal proceedings for the specific purpose of protecting or preventing the termination of family relationships. (3) Thailand has not yet established specific guidelines for prosecuting road traffic cases if the offender is a family member of the victim. And there is no other law that can apply the alternative justice process to the case. (4) Suggestions to amend the Dispute Mediation Act, B.E. 2019 in 2 topics 1. In section 39, paragraph 2, by adding the word Except for road traffic cases 2. add Section 291 of the Criminal Code to the list at the end of the Dispute Mediation Act, B.E. 2019.
การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และความเป็นมาที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีจราจรชั้นพนักงานสอบสวนกรณีผู้ต้องหาและผู้เสียหายชั้นต้นเป็นบุคคลเดียวกัน (2) ศึกษาและเปรียบเทียบบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีจราจรชั้นพนักงานสอบสวนทั้งในประเทศไทย  มลรัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐสิงคโปร์ (3) วิเคราะห์ปัญหาของมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีจราจรชั้นพนักงานสอบสวนกรณีผู้ต้องหาและผู้เสียหายชั้นต้นเป็นบุคคลเดียวกัน (4) เสนอแนะแนวทางการปรับปรุงกฎหมายที่ใช้ในการดำเนินคดีจราจรในประเทศไทยการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยจากเอกสาร ผู้ศึกษาได้ทำ การรวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กฎหมายของประเทศไทย กฎหมายของมลรัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา กฎหมายของสาธารณรัฐสิงคโปร์ รวมถึงหนังสือ บทความ วารสาร เอกสารทางวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ และข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขและปรับปรุงกฎหมายที่ใช้ในการดำเนินคดีจราจรทางบกต่อไปผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิดการรักษาสถาบันครอบครัว ที่พบได้ในกฎหมายหลายฉบับของไทยเป็นแนวคิดที่จำเป็นในการนำมาเป็นหลักสำหรับการดำเนินคดีจราจรกรณีผู้ต้องหาเป็นบุคคลในครอบครัวของผู้เสียหาย (2) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีจราจรทางบกของประเทศไทย กำหนดให้พนักงานสอบสวนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นหนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจทำการสอบสวน รวบรวมพยานหลักฐานและทำความเห็นทางคดีเสนอต่อพนักงานอัยการสั่งฟ้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจ ซึ่งแตกต่างจากกฎหมายในมลรัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐสิงคโปร์ ที่ให้อำนาจการสอบสวนกับพนักงานอัยการ ซึ่งมี่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ช่วยพนักงานอัยการในการรวบรวมพยานหลักฐานในคดี (3) ประเทศไทยยังไม่มีการบัญญัติแนวทางการดำเนินคดีจราจรกรณีผู้ต้องหาเป็นบุคคลในครอบครัวของผู้เสียหายไว้เป็นการเฉพาะ และไม่มีกฎหมายอื่นที่สามารถนำกระบวนการยุติธรรมทางเลือกมาปรับใช้กับกรณีได้ (4) เสนอแนะให้มีการเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 มาตรา 39 วรรคสอง โดยเพิ่มคำว่า ยกเว้นคดีจราจรทางบก และเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ในบัญชีท้ายพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13451
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2634001669.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.