Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13451
Title: ปัญหาในการดำเนินคดีจราจรชั้นพนักงานสอบสวนกรณีผู้ต้องหาเป็นบุคคลในครอบครัวของผู้เสียหาย
Other Titles: Problems of prosecution of road traffic cases at the police inquiry level, in cases the offender is a victim's family member
Authors: ปัณณวิช ทัพภวิมล
ทัตชัย ทรัพย์สืบวงศ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
จราจร--คดี
ผู้ต้องหา
ครอบครัวเหยื่ออาชญากรรม
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และความเป็นมาที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีจราจรชั้นพนักงานสอบสวนกรณีผู้ต้องหาและผู้เสียหายชั้นต้นเป็นบุคคลเดียวกัน (2) ศึกษาและเปรียบเทียบบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีจราจรชั้นพนักงานสอบสวนทั้งในประเทศไทย  มลรัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐสิงคโปร์ (3) วิเคราะห์ปัญหาของมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีจราจรชั้นพนักงานสอบสวนกรณีผู้ต้องหาและผู้เสียหายชั้นต้นเป็นบุคคลเดียวกัน (4) เสนอแนะแนวทางการปรับปรุงกฎหมายที่ใช้ในการดำเนินคดีจราจรในประเทศไทยการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยจากเอกสาร ผู้ศึกษาได้ทำ การรวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กฎหมายของประเทศไทย กฎหมายของมลรัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา กฎหมายของสาธารณรัฐสิงคโปร์ รวมถึงหนังสือ บทความ วารสาร เอกสารทางวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ และข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขและปรับปรุงกฎหมายที่ใช้ในการดำเนินคดีจราจรทางบกต่อไปผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิดการรักษาสถาบันครอบครัว ที่พบได้ในกฎหมายหลายฉบับของไทยเป็นแนวคิดที่จำเป็นในการนำมาเป็นหลักสำหรับการดำเนินคดีจราจรกรณีผู้ต้องหาเป็นบุคคลในครอบครัวของผู้เสียหาย (2) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีจราจรทางบกของประเทศไทย กำหนดให้พนักงานสอบสวนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นหนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจทำการสอบสวน รวบรวมพยานหลักฐานและทำความเห็นทางคดีเสนอต่อพนักงานอัยการสั่งฟ้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจ ซึ่งแตกต่างจากกฎหมายในมลรัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐสิงคโปร์ ที่ให้อำนาจการสอบสวนกับพนักงานอัยการ ซึ่งมี่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ช่วยพนักงานอัยการในการรวบรวมพยานหลักฐานในคดี (3) ประเทศไทยยังไม่มีการบัญญัติแนวทางการดำเนินคดีจราจรกรณีผู้ต้องหาเป็นบุคคลในครอบครัวของผู้เสียหายไว้เป็นการเฉพาะ และไม่มีกฎหมายอื่นที่สามารถนำกระบวนการยุติธรรมทางเลือกมาปรับใช้กับกรณีได้ (4) เสนอแนะให้มีการเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 มาตรา 39 วรรคสอง โดยเพิ่มคำว่า ยกเว้นคดีจราจรทางบก และเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ในบัญชีท้ายพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13451
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2634001669.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.