Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13452
Title: มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาทหาร : ศึกษากรณีการสอบสวนคดีอาญาในศาลทหาร
Other Titles: Legal measures on military criminal justice : study military criminal investigation
Authors: พงษ์สิทธิ์ อรุณรัตนากุล
ธนากร สังข์ขำ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
การพิจารณาและตัดสินคดี (ความผิดตามกฎหมายทหาร)
กระบวนการยุติธรรมทางอาญา
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัญหาในการสอบสวนคดีอาญาในศาลทหาร (2) ศึกษาประวัติวิวัฒนาการรวมถึงแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับการการสอบสวนคดีอาญาในศาลทหาร (3) ศึกษาประเด็นปัญหาและวิเคราะห์กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนคดีอาญาในศาลทหารประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และ (4) เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาการสอบสวนคดีอาญาในศาลทหารประเทศไทยการศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องนี้ ใช้ระเบียบวิจัยในเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยเอกสารจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกฎหมายของทางราชการที่สำคัญ ตำรา บทความทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ วารสาร เอกสาร และสิ่งพิมพ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งของประเทศไทย และต่างประเทศ ผลการศึกษาพบว่า (1) ตามพระราชบัญญัติพระธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 ได้บัญญัติ ในเรื่อง การสอบสวนไว้เพียง 2 มาตรา และได้มีการบังคับใช้มาเป็นเวลานานแล้ว จึงทำให้ไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน ดังนั้น ผู้ที่ทำหน้าที่สอบสวนคดีอาญาในศาลทหาร จึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบการสอบสวนคดีอาญาในศาลทหาร โดยต้องคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพและความเป็นธรรมแก่คู่กรณีให้มากที่สุด (2) ประวัติวิวัฒนาการของศาลทหาร แนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนต่อการให้การคุ้มครองสิทธิผู้ต้องหาในการสอบสวนคดีอาญา ทฤษฎีเกี่ยวกับการสอบสวนคดีอาญา ผู้สอบสวนจะต้องมีความเป็นกลางที่เป็นภาวะวิสัย เพื่อให้คู่ความทั้งสองฝ่ายได้รับความเป็นธรรม เพราะเป็นการเริ่มต้นหลักความเสมอภาคและความโปร่งใส่ในการดำเนินคดี ต้องคำนึงถึงหลักแห่งนิติธรรม (3) ผลการศึกษาในการวิเคราะห์กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีพบว่าผู้สอบสวนคดีอาญาทหาร ต้องสำเร็จการศึกษาด้านกฎหมาย ต้องผ่านหลักสูตรการอบรมการสอบสวนคดีอาญาทหารของหน่วยงานดังกล่าว และมีการตรวจสอบถ่วงดุลในระบบการสอบสวน  (4) สมควรแก้ไขกฎหมายสำหรับส่วนราชการของกระทรวงกลาโหมที่เกี่ยวข้องกับการสืบสวนสอบสวนทั้งสามเหล่าทัพ โดยเป็นองค์กรเฉพาะในการทำหน้าที่สืบสวนสอบสวน โดยมีความเห็นทางคดีเป็นอิสระปราศจากการแทรกแซง โดยผู้มีหน้าที่สอบสวนต้องผ่านการศึกษาทางด้านกฎหมาย และต้องได้รับการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพสืบสวนสอบสวนคดีอาญา ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเพื่อเป็นหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติด้านการสืบสวนสอบสวนคดีอาญา
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13452
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2634001784.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.