Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13453
Title: Problems in enforcing the law regarding fines in road traffic cases
ปัญหาการใช้บังคับกฎหมายเกี่ยวกับการเปรียบเทียบปรับในคดีจราจรทางบก
Authors: KAMOLTHEP SOMBAT
กมลเทพ สมบัติ
Vikorn Rakpuangchon
วิกรณ์ รักษ์ปวงชน
Sukhothai Thammathirat Open University
Vikorn Rakpuangchon
วิกรณ์ รักษ์ปวงชน
[email protected]
[email protected]
Keywords: กฎหมายจราจร คดีจราจรทางบก การเปรียบเทียบปรับ
Traffic law
Road traffic cases
fine Comparison
Issue Date:  2
Publisher: Sukhothai Thammathirat Open University
Abstract: This independent study has the objectives (1) to study the concept Theory regarding comparison of fines in road traffic cases (2) to study legal provisions in road traffic cases in Thailand, commonwealth of Australia United States and Japan (3) To analyze the problem of comparing and adjusting road traffic cases. (4) To suggest guidelines for amending and improving the Land Traffic Act B.E. 2522.This independent study It is qualitative research. By researching documents, laws, and regulations of the Road Traffic Act B.E. 2522,the Criminal Procedure Code,and other related legal regulations. Including comparative information with other agencies in Thailand and abroad. Make the next proposal.The results of the study found that (1) Generality: The theoretical concepts regarding the comparison and adjustment of road traffic cases were formulated to create safety and convenience in the lives, bodies, and property of people who use roads. If someone violates or fails to comply with the provisions of the law, there will be a fine or imprisonment according to the circumstances of the offense.  There are traffic officers to enforce the law.  You must use discretion in considering offenses and determining fines and adhering to fairness.  Relying on the principle of checking the use of state power as the main control over the use of power (2) There is related law, namely the Land Traffic Act B.E. 2522, the Criminal Procedure Code. Give traffic officers the power to issue tickets. and give the investigating officer the power to determine punishment and compare fines. (3) From studying the information of this Act, it is found that The traffic officer who discovered the offense and the investigating officer who has the authority to impose a fine as authorized by law. have used the gaps under this Act to gain illegal benefits, called "bribes" from the perpetrator to help the perpetrator avoid punishment  or to receive a lesser punishment Because there is no inspection of the use of power by officials.   There is a lack of checks and balances in the exercise of power from other agencies, which is different from commonwealth of Australia. ,United States and Japan The powers of the traffic officer who makes the arrest and the officer who makes the fine are separated.  To create balance and check the use of power from each other.   Specify specific channels for paying fines. Reduce the burden of collecting fines accurately and quickly. (4) Therefore, it is considered that the Land Traffic Act B.E. 2522 should be amended to specify that traffic officers have the power to issue tickets only.  The investigating officer does not have the authority to impose a fine. The Ministry of Finance is responsible for making comparisons. in order to fully enforce the law Reduce the problem of corruption and accepting bribes  and can efficiently collect fines into the national budget
การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการเปรียบเทียบปรับคดีจราจรทางบก (2) ศึกษาบทบัญญัติทางกฎหมายคดีจราจรทางบกในประเทศไทย เครือรัฐออสเตรเลีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศญี่ปุ่น (3) วิเคราะห์ปัญหาการเปรียบเทียบปรับคดีจราจรทางบก (4) เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีวิจัยเอกสาร กฎหมาย ระเบียบ ของพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ประมวลวิธีพิจารณาความอาญา และระเบียบ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งข้อมูลเปรียบเทียบกับหน่วยงานอื่นของไทย เครือรัฐออสเตรเลีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศญี่ปุ่น จัดทำเป็นข้อเสนอต่อไป ผลการศึกษาพบว่า (1) ความทั่วไป แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการเปรียบเทียบปรับคดีจราจรทางบกได้ถูกบัญญัติขึ้นเพื่อสร้างความความปลอดภัยและความสะดวกในชีวิตร่างกายและทรัพย์สินของประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนน หากมีผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายจะมีโทษปรับหรือโทษจำคุกตามพฤติการณ์การกระทำความผิด  มีเจ้าพนักงานจราจรเป็นบังคับใช้กฎหมาย โดยต้องใช้ดุลพินิจในการพิจารณาความผิดและกำหนดโทษปรับยึดถือความถูกต้องเป็นธรรม  อาศัยหลักการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเป็นหลักควบคุมการใช้อำนาจ (2) มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องคือพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ประมวลวิธีพิจารณาความอาญา ให้อำนาจแก่พนักงานจราจรในการออกใบสั่ง และให้อำนาจพนักงานสอบสวนในการกำหนดโทษและทำการเปรียบเทียบปรับ (3)จากการศึกษาข้อมูลพระราชบัญญัติฉบับนี้พบว่า เจ้าพนักงานจราจรผู้พบการกระทำความผิด และพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจเปรียบเทียบปรับตามที่กฎหมายให้อำนาจ ได้ใช้ช่องว่างของพระราชบัญญัติฉบับนี้แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบเรียกว่า “สินบน” จากผู้กระทำความผิดเพื่อช่วยให้ผู้กระทำความผิดไม่ต้องรับโทษ  หรือให้รับโทษน้อยลง เนื่องจากไม่มีการตรวจสอบการใช้อำนาจของเจ้าพนักงาน   ขาดการถ่วงดุลการใช้อำนาจจากหน่วยงานอื่นซึ่งแตกต่างจากประเทศออสเตรเลีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศญี่ปุ่น  ได้แยกอำนาจเจ้าพนักงานจราจรผู้จับกุมและเจ้าพนักงานผู้ทำการเปรียบเทียบปรับออกจากกัน  เพื่อให้เกิดการถ่วงดุลและตรวจสอบการใช้อำนาจซึ่งกันและกัน   กำหนดช่องทางการชำระค่าปรับเป็นการเฉพาะ ลดภาระการดำเนินการจัดเก็บค่าปรับได้ถูกต้องและรวดเร็ว (4) ควรแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522  กำหนดให้เจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจออกใบสั่งเท่านั้น  พนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจเปรียบเทียบปรับ การเปรียบเทียบให้กระทรวงการคลังเป็นผู้รับผิดชอบ เพื่อให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเต็มที่ ลดปัญหาการทุจริตเรียกรับสินบน  และสามารถดำเนินการเก็บค่าปรับเข้างบประมาณแผ่นดินได้อย่างที่มีประสิทธิภาพ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13453
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2634001867.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.