Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13453
Title: | ปัญหาการใช้บังคับกฎหมายเกี่ยวกับการเปรียบเทียบปรับในคดีจราจรทางบก |
Other Titles: | Problems in enforcing the law regarding fines in road traffic cases |
Authors: | วิกรณ์ รักษ์ปวงชน กมลเทพ สมบัติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี กฎจราจร การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการเปรียบเทียบปรับคดีจราจรทางบก (2) ศึกษาบทบัญญัติทางกฎหมายคดีจราจรทางบกในประเทศไทย เครือรัฐออสเตรเลีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศญี่ปุ่น (3) วิเคราะห์ปัญหาการเปรียบเทียบปรับคดีจราจรทางบก (4) เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีวิจัยเอกสาร กฎหมาย ระเบียบ ของพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ประมวลวิธีพิจารณาความอาญา และระเบียบ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งข้อมูลเปรียบเทียบกับหน่วยงานอื่นของไทย เครือรัฐออสเตรเลีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศญี่ปุ่น จัดทำเป็นข้อเสนอต่อไป ผลการศึกษาพบว่า (1) ความทั่วไป แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการเปรียบเทียบปรับคดีจราจรทางบกได้ถูกบัญญัติขึ้นเพื่อสร้างความความปลอดภัยและความสะดวกในชีวิตร่างกายและทรัพย์สินของประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนน หากมีผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายจะมีโทษปรับหรือโทษจำคุกตามพฤติการณ์การกระทำความผิด มีเจ้าพนักงานจราจรเป็นบังคับใช้กฎหมาย โดยต้องใช้ดุลพินิจในการพิจารณาความผิดและกำหนดโทษปรับยึดถือความถูกต้องเป็นธรรม อาศัยหลักการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเป็นหลักควบคุมการใช้อำนาจ (2) มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องคือพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ประมวลวิธีพิจารณาความอาญา ให้อำนาจแก่พนักงานจราจรในการออกใบสั่ง และให้อำนาจพนักงานสอบสวนในการกำหนดโทษและทำการเปรียบเทียบปรับ (3)จากการศึกษาข้อมูลพระราชบัญญัติฉบับนี้พบว่า เจ้าพนักงานจราจรผู้พบการกระทำความผิด และพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจเปรียบเทียบปรับตามที่กฎหมายให้อำนาจ ได้ใช้ช่องว่างของพระราชบัญญัติฉบับนี้แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบเรียกว่า “สินบน” จากผู้กระทำความผิดเพื่อช่วยให้ผู้กระทำความผิดไม่ต้องรับโทษ หรือให้รับโทษน้อยลง เนื่องจากไม่มีการตรวจสอบการใช้อำนาจของเจ้าพนักงาน ขาดการถ่วงดุลการใช้อำนาจจากหน่วยงานอื่นซึ่งแตกต่างจากประเทศออสเตรเลีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศญี่ปุ่น ได้แยกอำนาจเจ้าพนักงานจราจรผู้จับกุมและเจ้าพนักงานผู้ทำการเปรียบเทียบปรับออกจากกัน เพื่อให้เกิดการถ่วงดุลและตรวจสอบการใช้อำนาจซึ่งกันและกัน กำหนดช่องทางการชำระค่าปรับเป็นการเฉพาะ ลดภาระการดำเนินการจัดเก็บค่าปรับได้ถูกต้องและรวดเร็ว (4) ควรแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 กำหนดให้เจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจออกใบสั่งเท่านั้น พนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจเปรียบเทียบปรับ การเปรียบเทียบให้กระทรวงการคลังเป็นผู้รับผิดชอบ เพื่อให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเต็มที่ ลดปัญหาการทุจริตเรียกรับสินบน และสามารถดำเนินการเก็บค่าปรับเข้างบประมาณแผ่นดินได้อย่างที่มีประสิทธิภาพ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13453 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2634001867.pdf | 1.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.