Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13454
Title: Legal measures regarding the punishment of truck and truck drivers passenger for speeding beyond the legal limit.
มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการลงโทษผู้ขับขี่รถบรรทุกและรถบรรทุกคนโดยสารฐานขับรถเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด
Authors: THAWINUN DITTAPOON
ทวินันท์ ดิษฐพูล
Tawan Detpiratmongkol
ตะวัน เดชภิรัตนมงคล
Sukhothai Thammathirat Open University
Tawan Detpiratmongkol
ตะวัน เดชภิรัตนมงคล
[email protected]
[email protected]
Keywords: มาตรการบังคับโทษ
กฎหมายจราจร
รถบรรทุก
penalty
traffic law
truck
Issue Date:  21
Publisher: Sukhothai Thammathirat Open University
Abstract: This independent study aims to (1) study the concepts, theories, and principles related to punitive measures for truck and passenger vehicle drivers who exceed the speed limits set by law, (2) examine the legal measures for punishing such drivers in the laws namely Japan, the United Kingdom and Thailand, (3) analyze these legal measures in the context of the aforementioned countries, and (4) propose the suitable punitive measures for Thailand. This study employs a qualitative methodology through document analysis, reviewing books, academic articles, and internet resources in both Thai and foreign languages. The objective is to analyze legal issues concerning punitive measures for truck and passenger vehicle drivers who violate speed limits under the land traffic laws and to propose recommendations for improving the laws to achieve greater efficiency and appropriateness.The findings of the study indicate that: (1) the concept of criminal offense and imposing fines serves as a deterrent in accordance with the deterrence theory. Meanwhile, the utilitarian theory assumes that such punishment benefits society overall. The Flexible punishment frameworks has been established to allow law enforcers to adjust the punishment to individuals appropriately. (2) Japan's punitive measures for speed exceeding include imprisonment, fines, and a demerit point system, while the United Kingdom imposes fines and demerit points. In Thailand, the land traffic laws stipulates fines up to 4,000 bahts and demerit point system for speeding violations. (3) The exercise of discretion in imposing fines and assigning demerit points in Japan involves setting ranges for speed violations, corresponding penalties, and demerit points, which serve as guidelines for officials' discretion. In contrast, the United Kingdom categorizes offenses by severity and assigns ranges for fines and demerit points, with fines based on the offender's income. In Thailand, the Royal Thai Police, as the law enforcement authority, has issued an announcement setting the fine for speed exceeding at 500 bahts and a demerit point system for truck drivers that lacks flexibility. (4) It is recommended amending the land traffic laws in Thailand to include offenses committed by truck and passenger vehicle drivers regarding speed exceeding. Such amendment shall set the ranges for speed violations, corresponding penalties, and flexible demerit point ranges to provide officials with appropriate discretion in imposing penalties.
การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและหลักการเกี่ยวกับมาตรการลงโทษผู้ขับขี่รถบรรทุกและรถบรรทุกคนโดยสารฐานขับรถเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด (2) ศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการลงโทษผู้ขับขี่รถบรรทุกและรถบรรทุกคนโดยสารฐานขับรถเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดในกฎหมายของ ประเทศญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และประเทศไทย (3) วิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการลงโทษผู้ขับขี่รถบรรทุกและรถบรรทุกคนโดยสารฐานขับรถเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดในกฎหมายของ ประเทศญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และประเทศไทย (4) เสนอแนวทางในการกำหนดมาตรการลงโทษผู้ขับขี่รถบรรทุกและรถบรรทุกคนโดยสารฐานขับรถเร็วเกินกว่าอัตราตามที่กฎหมายกำหนด ที่เหมาะสมกับประเทศไทยการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสาร จากการศึกษาค้นคว้าจากหนังสือ บทความเอกสารทางวิชาการ ข้อมูลอินเตอร์เน็ต ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เพื่อนำมาวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายในการกำหนดมาตรการลงโทษผู้ขับขี่รถบรรทุกและรถบรรทุกคนโดยสารฐานขับรถเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดตามกฎหมายจราจรทางบกและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับการลงโทษผู้ขับขี่รถบรรทุกและรถบรรทุกคนโดยสารในกรณีขับรถเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดตามกฎหมายจราจรทางบก ให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสม ต่อไปผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิดเกี่ยวกับการกำหนดความผิดทางอาญาและการบังคับโทษปรับเป็นฐานในการสร้างกฎเกณฑ์เพื่อควบคุมมิให้เกิดการกระทำความผิดซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีการลงโทษแบบข่มขู่ยับยั้ง ขณะที่ทฤษฎีอรรถประโยชน์ถือว่าการลงโทษดังกล่าวเป็นไปเพื่อประโยชน์ของสังคมในภาพรวม โดยมีการกำหนดกรอบการลงโทษที่มีความยืดหยุ่นเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้บังคับใช้กฎหมายสามารถนำไปปรับใช้ได้ตามหลักการลงโทษให้เหมาะสมกับตัวบุคคล (2) มาตรการลงโทษในความผิดฐานขับรถเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดของประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ โทษจำคุก โทษปรับ และการให้คะแนนความผิด ส่วนสหราชอาณาจักร ได้แก่ โทษปรับ และการให้คะแนนความผิด สำหรับกฎหมายจราจรทางบกของไทยกำหนดโทษปรับในความผิดฐานดังกล่าวไว้ไม่เกิน 4,000 บาท และมีระบบการตัดคะแนนความประพฤติของผู้ขับขี่ (3) การใช้ดุลพินิจกำหนดโทษในความผิดฐานขับขี่รถบรรทุกเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดของประเทศไทยยังขาดความยืดหยุ่น กล่าวคือ ประเทศญี่ปุ่นมีการกำหนดช่วงอัตราความเร็วที่ฝ่าฝืน ช่วงของโทษ และคะแนนความผิด เพื่อเป็นกรอบในการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ ส่วนสหราชอาณาจักรมีการแบ่งความผิดเป็นหมวดหมู่ตามความร้ายแรงและกำหนดช่วงอัตราค่าปรับ และช่วงคะแนนความผิดให้สอดคล้องกัน ซึ่งค่าปรับอ้างอิงจากฐานรายได้ของผู้กระทำความผิด จึงมีความยืดหยุ่นมากกว่ากฎหมายไทย (4) ควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายจราจรทางบกของไทยให้ครอบคลุมความผิดกรณีผู้ขับขี่รถบรรทุกและรถบรรทุกคนโดยสารกระทำความผิดข้อหาขับรถเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด โดยกำหนดช่วงอัตราความเร็วที่ฝ่าฝืน ช่วงของโทษ และช่วงการให้คะแนนความผิดที่ยืดหยุ่น เพื่อเป็นกรอบให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้ดุลพินิจกำหนดโทษได้อย่างเหมาะสม
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13454
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2634001891.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.