Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13454
Title: | มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการลงโทษผู้ขับขี่รถบรรทุกและรถบรรทุกคนโดยสารฐานขับรถเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด |
Other Titles: | Legal measures regarding the punishment of truck and truck drivers passenger for speeding beyond the legal limit |
Authors: | ตะวัน เดชภิรัตนมงคล ทวินันท์ ดิษฐพูล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี รถบรรทุก--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและหลักการเกี่ยวกับมาตรการลงโทษผู้ขับขี่รถบรรทุกและรถบรรทุกคนโดยสารฐานขับรถเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด (2) ศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการลงโทษผู้ขับขี่รถบรรทุกและรถบรรทุกคนโดยสารฐานขับรถเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดในกฎหมายของ ประเทศญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และประเทศไทย (3) วิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการลงโทษผู้ขับขี่รถบรรทุกและรถบรรทุกคนโดยสารฐานขับรถเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดในกฎหมายของ ประเทศญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และประเทศไทย (4) เสนอแนวทางในการกำหนดมาตรการลงโทษผู้ขับขี่รถบรรทุกและรถบรรทุกคนโดยสารฐานขับรถเร็วเกินกว่าอัตราตามที่กฎหมายกำหนด ที่เหมาะสมกับประเทศไทยการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสาร จากการศึกษาค้นคว้าจากหนังสือ บทความเอกสารทางวิชาการ ข้อมูลอินเตอร์เน็ต ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เพื่อนำมาวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายในการกำหนดมาตรการลงโทษผู้ขับขี่รถบรรทุกและรถบรรทุกคนโดยสารฐานขับรถเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดตามกฎหมายจราจรทางบกและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับการลงโทษผู้ขับขี่รถบรรทุกและรถบรรทุกคนโดยสารในกรณีขับรถเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดตามกฎหมายจราจรทางบก ให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสม ต่อไปผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิดเกี่ยวกับการกำหนดความผิดทางอาญาและการบังคับโทษปรับเป็นฐานในการสร้างกฎเกณฑ์เพื่อควบคุมมิให้เกิดการกระทำความผิดซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีการลงโทษแบบข่มขู่ยับยั้ง ขณะที่ทฤษฎีอรรถประโยชน์ถือว่าการลงโทษดังกล่าวเป็นไปเพื่อประโยชน์ของสังคมในภาพรวม โดยมีการกำหนดกรอบการลงโทษที่มีความยืดหยุ่นเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้บังคับใช้กฎหมายสามารถนำไปปรับใช้ได้ตามหลักการลงโทษให้เหมาะสมกับตัวบุคคล (2) มาตรการลงโทษในความผิดฐานขับรถเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดของประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ โทษจำคุก โทษปรับ และการให้คะแนนความผิด ส่วนสหราชอาณาจักร ได้แก่ โทษปรับ และการให้คะแนนความผิด สำหรับกฎหมายจราจรทางบกของไทยกำหนดโทษปรับในความผิดฐานดังกล่าวไว้ไม่เกิน 4,000 บาท และมีระบบการตัดคะแนนความประพฤติของผู้ขับขี่ (3) การใช้ดุลพินิจกำหนดโทษในความผิดฐานขับขี่รถบรรทุกเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดของประเทศไทยยังขาดความยืดหยุ่น กล่าวคือ ประเทศญี่ปุ่นมีการกำหนดช่วงอัตราความเร็วที่ฝ่าฝืน ช่วงของโทษ และคะแนนความผิด เพื่อเป็นกรอบในการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ ส่วนสหราชอาณาจักรมีการแบ่งความผิดเป็นหมวดหมู่ตามความร้ายแรงและกำหนดช่วงอัตราค่าปรับ และช่วงคะแนนความผิดให้สอดคล้องกัน ซึ่งค่าปรับอ้างอิงจากฐานรายได้ของผู้กระทำความผิด จึงมีความยืดหยุ่นมากกว่ากฎหมายไทย (4) ควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายจราจรทางบกของไทยให้ครอบคลุมความผิดกรณีผู้ขับขี่รถบรรทุกและรถบรรทุกคนโดยสารกระทำความผิดข้อหาขับรถเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด โดยกำหนดช่วงอัตราความเร็วที่ฝ่าฝืน ช่วงของโทษ และช่วงการให้คะแนนความผิดที่ยืดหยุ่น เพื่อเป็นกรอบให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้ดุลพินิจกำหนดโทษได้อย่างเหมาะสม |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13454 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2634001891.pdf | 1.02 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.