Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13459
Title: | ปัญหาการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เสียหายในคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา |
Other Titles: | Problems on claiming compensation of the injured person in criminal case according to the criminal procedure code |
Authors: | อิงครัต ดลเจิม หรรษา ท้วมนิ่ม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี ค่าสินไหมทดแทน วิธีพิจารณาความอาญา การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ที่เกี่ยวข้องในการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในคดีอาญา (2) ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในคดีอาญาของประเทศไทย สหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐฝรั่งเศส (3) วิเคราะห์ปัญหาที่พบในการใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เสียหายในคดีอาญา (4) เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาการใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เสียหายในคดีอาญาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีวิจัยเอกสารโดยทำการค้นคว้าและเก็บข้อมูลจาก บทความวิชาการ วิทยานิพนธ์ วารสารกฎหมาย งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตำรากฎหมาย แนวคำพิพากษาศาลฎีกา รวมทั้งข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ ผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในคดีอาญา ปรากฏในหลักการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในคดีอาญา หลักการใช้สิทธิเรียกร้องทางแพ่งของผู้เสียหายในคดีอาญา หลักการดำเนินกระบวนการยุติธรรมทางอาญา หลักการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในคดีอาญาตามมาตรฐานสากล และหลักการเข้ามามีส่วนร่วมของผู้เสียหายในการดำเนินคดีอาญา (2) ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีบทบัญญัติกำหนดให้ผู้เสียหายสามารถใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้ด้วยตนเองแต่ยังไม่มีบทบัญญัติในเรื่องการแจ้งให้ผู้เสียหายทราบถึงสิทธิในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนไว้ ทำให้ผู้เสียหายไม่ทราบถึงสิทธิดังกล่าวอันอาจส่งผลให้ผู้เสียหายไม่ได้ใช้สิทธิของตนหรือไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางอาญาได้ ซึ่งในสหรัฐอเมริกาได้วางมาตรฐานในการช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมไว้อย่างเป็นรูปธรรม โดยบัญญัติไว้ในกฎหมายสหรัฐที่กำหนดให้พนักงานอัยการมีหน้าที่ต้องแจ้งให้ผู้เสียหายรับรู้ถึงข้อมูลและข่าวสารที่เกี่ยวข้องเริ่มตั้งแต่ในชั้นสอบสวนจนถึงชั้นดำเนินคดี ส่วนสาธารณรัฐฝรั่งเศสแม้ผู้เสียหายจะไม่สามารถฟ้องร้องดำเนินคดีอาญาได้ด้วยตนเอง แต่ผู้เสียหายก็ได้รับการคุ้มครองสิทธิ และสามารถใช้สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนจากการกระทำความผิดอาญาได้ทั้งต่อศาลแพ่ง หรือจะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาก็ได้ ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส มาตรา 75 กำหนดไว้โดยชัดแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมีหน้าที่แจ้งให้ผู้เสียหายทราบถึงสิทธิต่าง ๆ (3) ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ยังไม่มีบทบัญญัติในเรื่องการแจ้งให้ผู้เสียหายทราบถึงสิทธิในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนไว้ไม่ว่าในขั้นตอนใดของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ต่างจากกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาที่กำหนดให้พนักงานอัยการทำหน้าที่เป็นผู้แจ้งสิทธิต่าง ๆ ให้ผู้เสียหายทราบ และสาธารณรัฐฝรั่งเศสกำหนดให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมีหน้าที่แจ้งให้ผู้เสียหายทราบถึงสิทธิต่าง ๆ (4) เห็นควรให้แก้ไขบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1 วรรคท้าย โดยเพิ่มเติมหน้าที่ของพนักงานสอบสวนให้เป็นผู้มีหน้าที่แจ้งให้ผู้เสียหายหรือทายาททราบถึงสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13459 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2634002816.pdf | 1.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.