Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13461
Title: การนำมาตรการทางปกครองมาใช้กับผู้มีหน้าที่รายงานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
Other Titles: Application of administrative measures against reporting entities under the Anti-Money Laundering law
Authors: สุพัตรา แผนวิชิต
วิลาวัลย์ ลิมปนะวรรณกูล
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
การฟอกเงิน--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงความเหมาะสมของบทกำหนดโทษตามมาตรา 62 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 2) ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการนำมาตรการทางปกครองมาใช้กับผู้มีหน้าที่รายงานตามกฎหมายฯ ของประเทศไทยประเทศมาเลเซียและประเทศฟิลิปปินส์ 3) ศึกษาวิเคราะห์การนำมาตรการทางปกครองมาใช้ในการดำเนินการกับผู้มีหน้าที่รายงานตามกฎหมายฯ ในกรณีพบการฝ่าฝืนการปฏิบัติตามกฎหมายกำหนด 4) เสนอแนะข้อกฎหมายเกี่ยวกับการนำมาตรการทางปกครองมาใช้ในการดำเนินการกับผู้มีหน้าที่รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมายที่เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพโดยการค้นคว้าจากเอกสารทางวิชาการ หนังสือ วรรณกรรม เพื่อให้ได้มาซึ่งแนวความคิดเกี่ยวกับมาตรการในการดำเนินการกับผู้มีหน้าที่รายงานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ซึ่งผู้วิจัยได้สังเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพผลการศึกษาพบว่า 1) โทษตามมาตรา 62 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มีความเหมาะสมแล้ว เพียงแต่ข้อกำหนดที่จะนำไปสู่การลงโทษยังขาดความเหมาะสม เนื่องจากกฎหมายดังกล่าวเป็นกฎหมายอาญา การกำหนดวิธีปฎิบัติที่นำไปสู่การลงโทษเกี่ยวข้องกับอนุบัญญัติถึง 22 ฉบับที่ออกรายละเอียดเพื่อขยายความผิดอย่างหนึ่งอย่างใด ถือว่าไม่เป็นไปตามหลักการทางอาญาในเรื่อง “ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ ถ้าไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่าเป็นความผิด 2) การศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องของประเทศมาเลเซียและประเทศฟิลิปปินส์ มีการนำโทษทางปกครองมาใช้สำหรับการป้องกันการฟอกเงิน พบว่าประเทศในภูมิภาคเอเชีย เช่น ประเทศมาเลเซียได้กำหนดโทษทางปกครองสำหรับสถาบันการเงินที่ฝ่าฝืนกฎหมายไว้อย่างรุนแรง และประเทศฟิลิปปินส์ ได้กำหนดการลงโทษทางปกครองโดยให้อำนาจ หน่วยข่าวกรองทางการเงินของฟิลิปปินส์ในการกำหนดบทลงโทษทางปกครองที่ละเมิดกฎหมาย และกฎและข้อบังคับด้านการต่อต้านการฟอกเงิน 3) การศึกษาวิเคราะห์เพื่อนำมาตรการทางปกครองมาใช้กับกรณีดังกล่าว พบว่ามาตรการสำหรับผู้มีหน้าที่รายงานเป็นมาตรการเพื่อป้องกัน ดังนั้น ในกรณีการฝ่าฝืนการปฎิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย จึงมีลักษณะเป็นการกระทำที่เป็นเพียงการไม่ได้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่บัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมความสงบเรียบร้อยของสังคมทั่วไปโดยที่ผลของการฝ่าฝืนไม่ได้ส่งผลเสียหายต่อสังคมอย่างร้ายแรง จึงไม่ควรนำมาตรการการลงโทษทางอาญามาใช้ 4) เสนอให้มีการนำโทษทางปกครองมาใช้กับผู้มีหน้าที่รายงานธุรกรรมเพื่อให้การกำกับตรวจสอบมีความเหมาะสม ยืดหยุ่นและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13461
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2634002923.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.