Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13463
Title: | Legal Issues Regarding Consumer Protection in Product Advertising supplements through online Platforms ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านโฆษณาขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผ่านสื่อออนไลน์ |
Authors: | WIMON SUPANDIT วิมล สุพรรณดิษฐ Arjaree Meeintarakerd Mrrsidhi อาจารี มีอินทร์เกิด มีสิทธิ์ Sukhothai Thammathirat Open University Arjaree Meeintarakerd Mrrsidhi อาจารี มีอินทร์เกิด มีสิทธิ์ [email protected] [email protected] |
Keywords: | โฆษณาออนไลน์ ขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารออนไลน์ คุ้มครองผู้บริโภค Online advertisement Dietary supplement sales Consumer protection |
Issue Date: | 18 |
Publisher: | Sukhothai Thammathirat Open University |
Abstract: | This independent study aims to (1) explore legal issues related to consumer protection laws regarding the advertising of dietary supplements through online platforms, (2) conduct a comparative study of the legal issues concerning dietary supplement sales through online platforms between Thai laws and the laws of the United States, England, and Japan, (3) analyze the legal problems associated with advertising dietary supplements online, and (4) recommend improvements and amendments to Thailand's consumer protection laws for dietary supplement advertising to enhance their effectiveness and fairness.This study employs qualitative research methods, gathering data from secondary sources such as textbooks, academic articles, and internet resources in both Thai and foreign languages. The goal is to analyze legal issues related to consumer protection laws concerning the advertising of dietary supplements through online platforms and propose guidelines for amending these laws to improve efficiency and fairness in Thailand.The findings reveal that (1) the concept of consumer protection in dietary supplement advertising through online platforms is based on theories such as the sacredness of intent, tort liability, and the principle of freedom of contract; (2) the legal framework for dietary supplement sales through online platforms in Thailand is governed by the Food Act, B.E. 2522, and the Consumer Protection Act, B.E. 2522. In contrast, the United States has the Dietary Supplement Health and Education Act of 1994, England has the Consumer Protection from Unfair Trading Regulations of 2008, and Japan has the Food Sanitation Act of 1947; (3) legal issues in Thailand include the lack of clarity regarding prohibited language in online advertisements and the low penalties for sellers who exaggerate product claims compared to the stricter provisions in the United States, England, and Japan. The United States, in particular, has provisions for increasing penalties for repeat offenses; (4) amendments to the Food Act, B.E. 2522, Sections 40 and 41, are recommended to clarify the prohibition on exaggerated advertising of dietary supplements through online platforms, increase penalties for violations, and improve the enforcement of Sections 70 and 71 to enhance the overall effectiveness of the law. การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านโฆษณาขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผ่านสื่อออนไลน์ (2) ศึกษาถึงปัญหาการขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผ่านสื่อออนไลน์เปรียบเทียบกฎหมายไทย และกฎหมายสหรัฐอเมริกา ประเทศอังกฤษ ประเทศญี่ปุ่น (3) ศึกษาถึงปัญหาทางกฎหมายโฆษณาขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผ่านสื่อออนไลน์ (4) เสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคในการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในประเทศไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นธรรมการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสาร จากการศึกษาค้นคว้าจากหนังสือ บทความเอกสารทางวิชาการ ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เพื่อนำมาวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านโฆษณาขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผ่านสื่อออนไลน์ และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคในการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารให้มีประสิทธิภาพ และเป็นธรรม ต่อไปผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิดคุ้มครองผู้บริโภคด้านโฆษณาขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผ่านสื่อออนไลน์ ปรากฏทฤษฎีที่รัฐนำมาใช้การบัญญัติกฎหมายที่มีโทษในประเด็นดังกล่าว คือ ทฤษฎีเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์ของเจตนา ทฤษฎีความรับผิดชอบในทางละเมิด และหลักเสรีภาพในการทำสัญญา (2) ปัญหาการขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผ่านสื่อออนไลน์กฎหมายไทย ปรากฏในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 กฎหมายสหรัฐอเมริกา ปรากฏในพระราชบัญญัติอาหารเสริมสุขภาพและการศึกษาปี ค.ศ. 1994 ประเทศอังกฤษ ปรากฏในระเบียบว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคจากการค้า ที่ไม่เป็นธรรม ปี ค.ศ. 2008 ประเทศญี่ปุ่นปรากฏใน พระราชบัญญัติการสุขาภิบาลอาหาร ค.ศ. 1947 (3) ปัญหาทางกฎหมายโฆษณาขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสื่อออนไลน์ กฎหมายไทยยังไม่มีความชัดเจนในการห้ามเขียนข้อความถ้อยคำที่ใช้ในการโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์ และกรณีผู้ขายโฆษณาเกินจริงไม่ตรงกับฉลากสินค้า และยังมีอัตราโทษที่ต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายของสหรัฐอเมริกา ประเทศอังกฤษ ประเทศญี่ปุ่น ที่มีบัญญัติกฎหมายไว้อย่างชัดเจนในการใช้ข้อความโฆษณา สหรัฐอเมริกามีบทกำหนดเพิ่มโทษเมื่อมีการทำผิดซ้ำ (4) ควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 40 และมาตรา 41 เกี่ยวกับการห้ามโฆษณาขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผ่านสื่อออนไลน์เกินจริงให้มีความชัดเจนรวมทั้งเพิ่มอัตราโทษหากมีการฝ่าฝืน และหากผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 70 และมาตรา 71 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13463 |
Appears in Collections: | Law-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2644000149.pdf | 1.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.