Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13464
Title: ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการสอบสวนและตรวจสอบการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการอัยการ
Other Titles: Legal problems on the disciplinary action inquiry and examination of public prosecutors
Authors: อาจารี มีอินทร์เกิด มีสิทธิ์
สกนธรัตน์ เรืองโชติพัฒน์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
อัยการ--วินัย
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความหมาย แนวคิด และหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับ การดำเนินการทางวินัย (2) ศึกษาวิเคราะห์กฎหมายเกี่ยวกับการสอบสวนและตรวจสอบการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการอัยการเปรียบเทียบกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศเกี่ยวกับการสอบสวนและตรวจสอบการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการ (3) ศึกษาถึงแนวทางแก้ไขกฎหมายเกี่ยวด้วยการสอบสวนและตรวจสอบการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการอัยการการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมายด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร ตัวบทกฎหมาย ตำราวิชาการ วารสาร บทความ วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย ข้อมูลจากเว็บไซต์ทางอินเตอร์เน็ตทั้งของประเทศไทยและของต่างประเทศเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการ เช่น สาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ปัญหา เปรียบเทียบ สรุปและข้อเสนอแนะ ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาเกี่ยวกับสิทธิในการมีทนายความหรือที่ปรึกษากฎหมายในการสอบสวนและตรวจสอบการดำเนินการทางวินัยไม่ร้ายแรงของข้าราชการอัยการ สำหรับแนวทางแก้ไขปัญหานี้สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทกฎหมายที่ว่าด้วยวินัยข้าราชการอัยการ โดยกำหนดให้ในการสอบสวนเบื้องต้นก่อนมีคำสั่งลงโทษทางวินัยไม่ร้ายแรง ให้ข้าราชการอัยการผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยมีสิทธินำทนายความหรือที่ปรึกษาเข้าร่วมฟังการให้ถ้อยคำของตนในระหว่างการสอบสวนชั้นต้นได้ (2) ปัญหาการกำหนดให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงในการสอบสวนความผิดวินัยไม่ร้ายแรงของข้าราชการอัยการ สำหรับแนวทางแก้ไขปัญหานี้สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทกฎหมายที่ว่าด้วยวินัยข้าราชการอัยการ โดยกำหนดให้การสอบสวนความผิดวินัยไม่ร้ายแรง แม้จะปรากฏจากการสืบสวนเบื้องต้นว่ามีมูลวินัยไม่ร้ายแรง ก็ควรกำหนดให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุอาจดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยเพื่อหน้าที่ในการรวบรวมพยานหลักฐานและการดำเนินการทั้งหลายเพื่อที่จะให้ได้ทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆ หรือพิสูจน์เกี่ยวกับเรื่องที่กล่าวหาข้าราชการอัยการว่ากระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรงได้ (3) ปัญหาเกี่ยวกับสิทธิอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยภายในฝ่ายปกครองของข้าราชการอัยการสำหรับแนวทางแก้ไขปัญหานี้สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทกฎหมายที่ว่าด้วยวินัยข้าราชการอัยการ โดยกำหนดให้ข้าราชการอัยการมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยก่อนนำคดีไปฟ้องศาลปกครองได้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13464
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2644000552.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.