Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13479
Title: | Class Action under the Trade Competition Act B.E. 2560 (2017) การดำเนินคดีแบบกลุ่มตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 |
Authors: | KONGPRAB SOMTUA กองปราบ สมตัว Saravuth Pitiyasak สราวุธ ปิติยาศักดิ์ Sukhothai Thammathirat Open University Saravuth Pitiyasak สราวุธ ปิติยาศักดิ์ [email protected] [email protected] |
Keywords: | การฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายโดยเอกชน การดำเนินคดีแบบกลุ่ม คดีการแข่งขันทางการค้า Private damage lawsuits Class Actions Trade Competition cases |
Issue Date: | 13 |
Publisher: | Sukhothai Thammathirat Open University |
Abstract: | This independent study aims to (1) study the origins, concepts and main principles of private damage lawsuits and class actions in trade competition cases (2) study the problems and analyze the private lawsuits in trade competition cases (3) analyze the comparative substance of the lawsuits and class actions and foreign laws and (4) suggest appropriate solutions or improve the laws related to private lawsuits in trade competition cases.This independent study is a qualitative research using the document research method from legal texts, books, academic articles, research works, thesis, e-books, and related internet research. The data are analyzed and compared to be used as data for the study.The result indicated that (1) Thailand’s trade competition law and class action lawsuits have been influenced by the concepts from the United States. (2) Sections 69 and 70 of the Trade Competition Act B.E. 2560 grant private parties the right to file lawsuits to claim damages against entrepreneur. However, the fact-finding process is complicated and has a statute of limitations of only 1 year, which cannot motivate private parties to use their rights in court. Therefore, these provisions cannot be effectively enforced. (3) In comparison, the United States, which emphasizes the strength of punitive damages and class actions in cases where there are a large number of victims, and the Federal Republic of Germany emphasizes on the role of state agencies and provides third-party funding for class actions. Both countries have established laws and statutes of limitations that make the enforcement of such laws effective. (4) Suggest amending and enhancing provisions regarding lawsuits, statutes of limitations, tolling, and third-party funding to ensure the appropriateness of civil lawsuits under competition law. การศึกษาคันคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาที่มาแนวคิดและหลักพื้นฐานที่สำคัญของการฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายโดยเอกชนและการดำเนินคดีแบบกลุ่มในคดีการแข่งขันทางการค้า (2) ศึกษาสภาพปัญหาและวิเคราะห์เกี่ยวกับการฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายโดยเอกชนในคดีการแข่งขันทางการค้า (3) วิเคราะห์เปรียบเทียบสาระสำคัญการฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายและการดำเนินคดีแบบกลุ่ม และกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน (4) เสนอแนะแนวทางแก้ไขที่เหมาะสมหรือปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับการฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายโดยเอกชนในคดีการแข่งขันทางการค้า การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการแบบวิจัยเอกสาร จากตัวบทกฎหมาย หนังสือ บทความทางวิชาการ ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ หนังสืออิเล็กทรกนิกส์ และการค้นคว้าข้อมูลในอินเตอร์เน็ตที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาวิเคราะห์และเปรียบเทียบ เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาผลการศึกษาพบว่า (1) กฎหมายการแข่งขันทางการค้าและการดำเนินคดีแบบกลุ่มของประเทศไทยได้รับอิทธิพลมาจากที่มาแนวคิดของประเทศสหรัฐอเมริกา (2) ตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ตามมาตรา 69 และมาตรา 70 ให้สิทธิเอกชนในการฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายต่อผู้ประกอบธุรกิจ แต่การแสวงข้อเท็จจริงนั้นกลับมีความยุ่งยากสลับซับซ้อนและมีอายุความเพียง 1 ปี ไม่อาจจูงใจเอกชนให้ใช้สิทธิทางศาล บทบัญญัติดังกล่าวจึงไม่อาจบังคับใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรม (3) เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศสหรัฐอเมริกานั้นมีจุดเด่นในเรื่องค่าเสียหายเชิงลงโทษและการดำเนินคดีแบบกลุ่มในกรณีมีผู้เสียหายจำนวนมาก และประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันที่ให้ความสำคัญกับบทบาทขององค์กรของรัฐ และมีการสนับสนุนเงินทุนจากบุคคลที่สามในการดำเนินคดีแบบกลุ่ม โดยทั้งสองประเทศได้กำหนดอายุความที่เหมาะสมและมีเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงด้วย ทำให้การบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวมีประสิทธิภาพ (4) เสนอแนะให้แก้ไขและปรับปรุงเพิ่มเติมบทบัญญัติในเรื่องการฟ้องคดี อายุความ เรื่องอายุความสะดุดหยุดลง และเรื่องการสนับสนุนเงินทุนจากบุคคลที่สาม เพื่อความเหมาะสมในการฟ้องคดีแพ่งตามกฎหมายการแข่งขันทางการค้า |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13479 |
Appears in Collections: | Law-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2654000088.pdf | 1.19 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.