Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13481
Title: Legal problems regarding disinheritance, the case of the ineligible person due to the abandonment of parents
ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร กรณีบุตรทอดทิ้งไม่อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา
Authors: USA PHATTHARANAMCHOK
อุษา ภัทรนำโชค
Arjaree Meeintarakerd Mrrsidhi
อาจารี มีอินทร์เกิด มีสิทธิ์
Sukhothai Thammathirat Open University
Arjaree Meeintarakerd Mrrsidhi
อาจารี มีอินทร์เกิด มีสิทธิ์
[email protected]
[email protected]
Keywords: การถูกกำจัดมิให้รับมรดก บุตรทอดทิ้งบิดามารดา บุตรไม่อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา
Disinheritance
Heir abandoning parents
Heir not maintaining parents
Issue Date:  4
Publisher: Sukhothai Thammathirat Open University
Abstract: This independent study has the objectives as follows: (1) to study the history, concept, and theories related to legal problems regarding disinheritance, the case of the ineligible person due to the abandonment of parents under the law of Inheritance and succession of Thailand, (2) to study the disinheritance, the case of the ineligible person due to the abandonment of parents in the context of Thailand’s, China’s and the Philippines’s law, (3) to study legal problems regarding disinheritance, the case of the ineligible person due to the abandonment of parents, (4) to study the guideline improvement of law amendment concerning disinheritance, the case of the ineligible person, in the Civil and Commercial Code, to apply in the case of  the person abandoning their parents.This independent study is qualitative research in document research based on legal texts, books, articles, academic documents, and information from the internet, both in Thailand and abroad, to analyze legal problems regarding disinheritance, the case of the ineligible person due to the abandonment of parents according to the succession law and to propose guideline improvement of law amendment concerning disinheritance, the case of the ineligible person in such a case, for ensuring effectiveness and appropriateness of the law.The study result found that (1) The concept of disinheritance, the case of the ineligible person due to the abandonment of parents, arises from their mutual rights and duties to support and take care of each other; therefore, heirs engaging in inappropriate behavior should not be allowed to inherit. (2) The disinheritance in Thailand is stipulated in the Civil and Commercial Code, while in China and the Philippines, it is specified in their Civil Codes. (3) China has laws regarding disinheritance, the case of the ineligible person due to the abandonment of parents, as well as provisions for reducing the inheritance share if the heir abandon their parents. In the Philippines, the heir may lose their right to inherit if they do not support and take care of their parents without reasonable cause, which may also reduce the inheritance share of statutory heirs. However, Thailand does not have provisions regarding disinheritance, the case of the ineligible person due to the abandonment of parents, and does not have provisions for reducing the inheritance share in such a case. (4) Amendments should be made to Section 1606(6) of the Civil and Commercial Code to stipulate that children not maintaining their parents without reasonable cause should be disinherited. Additionally, the definition of abandonment and failure to maintain should be clarified to include a case where a child intentionally neglects to maintain their parents without reasonable cause for a period exceeding one year, and this should apply to legitimate children and parents.
การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงความเป็นมา แนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร กรณีบุตรทอดทิ้งไม่อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของกฎหมายมรดกประเทศไทย (2) ศึกษาถึงการถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร กรณีบุตรทอดทิ้งไม่อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาในกฎหมายของประเทศไทย สาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (3) ศึกษาถึงปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร กรณีบุตรทอดทิ้งไม่อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา (4) เสนอแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย เกี่ยวกับการถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพื่อปรับใช้กับกรณีบุตรทอดทิ้งไม่อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสาร จากการศึกษาค้นคว้าจากหนังสือ บทความ เอกสารทางวิชาการ ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เพื่อนำมาวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร กรณีบุตรทอดทิ้งไม่อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาตามกฎหมายมรดก และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับการถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร กรณีบุตรทอดทิ้งไม่อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา ให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสม ต่อไปผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิดเรื่องการถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร กรณีบุตรทอดทิ้งไม่อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา เกิดจากบิดามารดากับบุตรมีสิทธิหน้าที่ที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน จึงไม่ควรให้บุตรผู้กระทำการไม่สมควรได้รับมรดก (2) การถูกกำจัดมิให้รับมรดกของประเทศไทยปรากฏในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ส่วนสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ปรากฏในประมวลกฎหมายแพ่ง (3) สาธารณรัฐประชาชนจีนมีกฎหมายการถูกกำจัดมิให้รับมรดก กรณีบุตรทอดทิ้งไม่อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา และการลดส่วนแบ่งมรดก กรณีบุตรไม่อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา ส่วนสาธารณรัฐฟิลิปปินส์บุตรอาจเสียสิทธิในการรับมรดก หากบุตรทอดทิ้งไม่อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาโดยไม่มีเหตุอันสมควร และอาจถูกลดส่วนแบ่งมรดก แต่ประเทศไทยไม่มีกฎหมายรองรับการถูกกำจัดมิให้รับมรดก กรณีบุตรทอดทิ้งไม่อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา และการลดส่วนแบ่งมรดก กรณีบุตรไม่อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา (4) ควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1606 (6) วรรกแรก ให้บุตรที่ทอดทิ้งไม่อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาโดยไม่มีเหตุอันสมควร ถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดก และ มาตรา 1606 (6) วรรคสอง โดยเพิ่มขอบเขตของคำว่าการทอดทิ้งไม่อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาว่าให้หมายความถึงกรณีที่บุตรมีเจตนาทอดทิ้งไม่อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา โดยปราศจากเหตุอันสมควร เป็นระยะเวลาเกินกว่า 1 ปี และต้องเป็นบุตรและบิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมาย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13481
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2654000302.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.