Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13487
Title: Legal problems about the mediation in administrative case: studying in mediation in an administrative case relating toan environmental issue
ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครองศึกษากรณีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
Authors: PHACHARAPHON KHONGMAN
พชรพล คงมั่น
Supatra Phanwichit
สุพัตรา แผนวิชิต
Sukhothai Thammathirat Open University
Supatra Phanwichit
สุพัตรา แผนวิชิต
[email protected]
[email protected]
Keywords: การระงับข้อพิพาททางเลือก  การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครอง  คดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
Alternative dispute resolution  Mediation in an administrative case  An administrative case relating to an environmental issue
Issue Date:  30
Publisher: Sukhothai Thammathirat Open University
Abstract: This independent study aims to (1) study concepts, theories, and principles related to criteria for mediation in an administrative case relating to an environmental issue; (2) compare laws of France, Australia and administrative law regarding such criteria; (3) analyze Thai law with laws in France and Australia and analyze issues concerning these criteria; (4) propose guidelines for improving and amending relevant laws.This independent study is legal research using qualitative methods, primarily documentary research. It involves studying and collecting data from relevant academic documents, textbooks, articles, theses, legal documents, and various legal provisions. It also includes a comparative study of concepts, theories, principles, as well as French and Australian laws to obtain systematic and appropriate knowledge that can lead to further legal improvements.                 The study found that (1) concepts, theories, and principles of mediation in an administrative case relating to an environmental issue support comprehensive dispute resolution, including pre-litigation mediation, with non-administrative court judges as mediators and with obvious period of time criteria; (2) the Act on Establishment of Administrative Courts and Administrative Court Procedure B.E. 2542 and the Regulation of the General Assembly of Judges of the Supreme Administrative Court on Dispute Mediation B.E. 2542 do not specify criteria for pre-litigation mediation, do not allow non-administrative court judges to mediate, and do not set an obvious period of time; (3) French and Australian laws specify criteria for pre-litigation mediation in administrative cases and allow non-administrative court judges to mediate, while Thailand, France, and Australia all stipulate that mediation in administrative cases must be conducted within a quick, clear, and definite timeframe, with France specifying a mediation period not exceeding four months; (4) it is suggested to amend the Act on Establishment of Administrative Courts and Administrative Court Procedure B.E. 2542 and the Regulation of the General Assembly of Judges of the Supreme Administrative Court on Dispute Mediation B.E. 2542 to align with French and Australian laws and conform to relevant concepts, theories, and principles of mediation in an administrative case relating to an environmental issue.
การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎี หลักการที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม (2) ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายของสาธารณรัฐฝรั่งเศส เครือรัฐออสเตรเลียและกฎหมายปกครองของประเทศไทยเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ดังกล่าว (3) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าว (4) ศึกษาข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวการศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องนี้เป็นการวิจัยทางนิติศาสตร์ โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสารเป็นหลัก โดยการศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากเอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้องจากตำรา บทความ วิทยานิพนธ์ รวมทั้งเอกสารทางกฎหมายและบทบัญญัติกฎหมายต่าง ๆ รวมไปถึงการศึกษาเปรียบเทียบแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และกฎหมายของสาธารณรัฐฝรั่งเศสและเครือรัฐออสเตรเลีย เพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้ที่เป็นระบบและเหมาะสมอันสามารถนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปผลการศึกษาพบว่า (1) ตามแนวคิด ทฤษฎี และหลักการในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม มีสาระสำคัญที่สนับสนุนให้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทอย่างสมบูรณ์โดยมีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนการฟ้องคดี ภายใต้กระบวนการที่มีผู้ไกล่เกี่ยข้อพิพาทที่ไม่ใช่ตุลาการศาลปกครองเพียงอย่างเดียว และมีกำหนดระยะชัดเจนแน่นอน (2) พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการ ในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2542 ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องการไกล่เกลี่ยข้อพาท ก่อนการฟ้องคดีไว้ ไม่ได้กำหนดให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ตุลาการศาลปกครองทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และกำหนดระยะเวลา ไม่ชัดเจนแน่นอน (3) กฎหมายของสาธารณรัฐฝรั่งเศสและเครือรัฐออสเตรเลียกำหนดหลักเกณฑ์การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครองก่อนการฟ้องคดีเอาไว้ และกำหนดให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ตุลาการศาลปกครองสามารถทำหน้าทีไกล่เกลี่ยข้อพิพาท โดยทั้งประเทศไทย สาธารณรัฐฝรั่งเศส และเครือรัฐออสเตรเลียต่างกำหนดหลักการสำคัญไว้เหมือนกันว่าการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครองต้องดำเนินการภายใต้กรอบระยะเวลาที่มีรวดเร็ว ชัดเจนแน่นอน โดยในสาธารณรัฐฝรั่งเศสมีการกำหนดหลักเกณฑ์ให้ใช้ระยะเวลาไกล่เกลี่ยไม่เกิน 4 เดือน (4) เห็นควรเสนอแก้ไขพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2542 ให้เทียบเคียงกับกฎหมายของสาธารณรัฐฝรั่งเศส เครือรัฐออสเตรเลียและสอดคล้องกับแนวคิด ทฤษฎี และหลักการที่เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13487
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2654000500.pdf1.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.