กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13487
ชื่อเรื่อง: ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครองศึกษากรณีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Legal problems about the mediation in administrative case: studying in mediation in an administrative case relating toan environmental issue
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุพัตรา แผนวิชิต
พชรพล คงมั่น
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
การไกล่เกลี่ย
กฎหมายสิ่งแวดล้อม
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎี หลักการที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม (2) ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายของสาธารณรัฐฝรั่งเศส เครือรัฐออสเตรเลียและกฎหมายปกครองของประเทศไทยเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ดังกล่าว (3) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าว (4) ศึกษาข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวการศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องนี้เป็นการวิจัยทางนิติศาสตร์ โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสารเป็นหลัก โดยการศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากเอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้องจากตำรา บทความ วิทยานิพนธ์ รวมทั้งเอกสารทางกฎหมายและบทบัญญัติกฎหมายต่าง ๆ รวมไปถึงการศึกษาเปรียบเทียบแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และกฎหมายของสาธารณรัฐฝรั่งเศสและเครือรัฐออสเตรเลีย เพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้ที่เป็นระบบและเหมาะสมอันสามารถนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปผลการศึกษาพบว่า (1) ตามแนวคิด ทฤษฎี และหลักการในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม มีสาระสำคัญที่สนับสนุนให้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทอย่างสมบูรณ์โดยมีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนการฟ้องคดี ภายใต้กระบวนการที่มีผู้ไกล่เกี่ยข้อพิพาทที่ไม่ใช่ตุลาการศาลปกครองเพียงอย่างเดียว และมีกำหนดระยะชัดเจนแน่นอน (2) พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการ ในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2542 ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องการไกล่เกลี่ยข้อพาท ก่อนการฟ้องคดีไว้ ไม่ได้กำหนดให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ตุลาการศาลปกครองทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และกำหนดระยะเวลา ไม่ชัดเจนแน่นอน (3) กฎหมายของสาธารณรัฐฝรั่งเศสและเครือรัฐออสเตรเลียกำหนดหลักเกณฑ์การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครองก่อนการฟ้องคดีเอาไว้ และกำหนดให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ตุลาการศาลปกครองสามารถทำหน้าทีไกล่เกลี่ยข้อพิพาท โดยทั้งประเทศไทย สาธารณรัฐฝรั่งเศส และเครือรัฐออสเตรเลียต่างกำหนดหลักการสำคัญไว้เหมือนกันว่าการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครองต้องดำเนินการภายใต้กรอบระยะเวลาที่มีรวดเร็ว ชัดเจนแน่นอน โดยในสาธารณรัฐฝรั่งเศสมีการกำหนดหลักเกณฑ์ให้ใช้ระยะเวลาไกล่เกลี่ยไม่เกิน 4 เดือน (4) เห็นควรเสนอแก้ไขพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2542 ให้เทียบเคียงกับกฎหมายของสาธารณรัฐฝรั่งเศส เครือรัฐออสเตรเลียและสอดคล้องกับแนวคิด ทฤษฎี และหลักการที่เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13487
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2654000500.pdf1.97 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น