Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13488
Title: | ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนสหกรณ์ในการกำกับดูแลสหกรณ์ในประเทศไทย |
Other Titles: | Legal problems regarding the powers and duties of the Cooperative Registrar to Regulate Cooperatives in Thailand |
Authors: | อาจารี มีอินทร์เกิด มีสิทธิ์ กิตติวิริยะ ใจชื้น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี สหกรณ์--ไทย--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ ของนายทะเบียนสหกรณ์ในการกำกับดูแลสหกรณ์ในประเทศไทย (2) ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนสหกรณ์ในการกำกับดูแลสหกรณ์ในประเทศไทย ประเทศญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี (3) ศึกษาถึงปัญหาทางกฎหมายและวิเคราะเปรียบเทียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนสหกรณ์ในการกำกับดูแลสหกรณ์ในประเทศไทย (4) เสนอแนะ แนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนสหกรณ์ในการกำกับดูแลสหกรณ์ในประเทศไทยได้การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารเป็นหลัก โดยการศึกษาเปรียบเทียบ ตัวบทกฎหมาย บทความ งานวิจัย เอกสารอื่น ๆ ทั้งของประเทศไทย ประเทศญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี เพื่อนำมาวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนสหกรณ์ในการกำกับดูแลสหกรณ์ในประเทศไทย และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอำนาจกำกับดูแลสหกรณ์ของนายทะเบียนสหกรณ์ ให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสม ต่อไปผลการศึกษา พบว่า (1) แนวคิดในการให้อำนาจนายทะเบียนสหกรณ์ในการกำกับดูแลสหกรณ์ในประเทศไทยเกิดจากการที่รัฐได้นำหลักการสหกรณ์มาเป็นนโยบายแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจให้กับประเทศชาติและประชาชน และปรากฏแนวคิดทฤษฎีที่รัฐนำมาบัญญัติกฎหมายในประเด็นดังกล่าว คือ แนวคิดการกำกับดูแล และหลักการสหกรณ์ (2) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนสหกรณ์ในการกำกับดูแลสหกรณ์ในประเทศไทยปรากฏในพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ส่วนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลสหกรณ์ในประเทศญี่ปุ่นปรากฏในกฎหมายสหกรณ์การเกษตร ค.ศ. 1947 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลสหกรณ์ในสาธารณรัฐเกาหลีปรากฏในกรอบพระราชบัญญัติสหกรณ์ ค.ศ. 2012 (3) กฎหมายสหกรณ์ของประเทศญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลี ได้มีการกำหนดจำนวนสมาชิกขั้นต่ำในการทำหนังสือร้องขอให้ตรวจสอบสหกรณ์จากสมาชิก และผู้มีอำนาจกำกับดูแลสหกรณ์จะใช้มาตรการใด ๆ ได้ก็ต่อเมื่อสหกรณ์ได้กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายเท่านั้น แตกต่างจากประเทศไทย ที่ไม่มีการกำหนดจำนวนสมาชิกขั้นต่ำในการทำหนังสือร้องขอให้ตรวจสอบสหกรณ์จากสมาชิก และให้เป็นอำนาจของนายทะเบียนสหกรณ์ที่จะใช้มาตรการใด ๆ ได้ หากเห็นว่าการกระทำของคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์อาจทำให้เกิดความเสื่อมเสียของสหกรณ์หรือสมาชิก โดยไม่ต้องพิจารณาว่าการกระทำนั้นเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายหรือไม่ (4) ควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 18/1 โดยเพิ่มเติมมูลเหตุของการที่นายทะเบียนสหกรณ์จะใช้อำนาจสั่งการให้ผู้ตรวจการสหกรณ์เข้าตรวจสอบสหกรณ์ และมาตรา 22 โดยแก้ไขมูลเหตุของการที่นายทะเบียนสหกรณ์จะสั่งการให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์แก้ไขข้อบกพร่องให้เกิดความชัดเจน เพื่อประโยชน์ในการกำกับ ดูแล และคุ้มครองระบบสหกรณ์ให้ดียิ่งขึ้นต่อไป |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13488 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2654000559.pdf | 1.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.