กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13488
ชื่อเรื่อง: | Legal Problems regarding the Powers and Duties of the Cooperative Registrar to Regulate Cooperatives in Thailand ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนสหกรณ์ ในการกำกับดูแลสหกรณ์ในประเทศไทย |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | KITTIVIRIYA JAICHAUN กิตติวิริยะ ใจชื้น Arjaree Meeintarakerd Mrrsidhi อาจารี มีอินทร์เกิด มีสิทธิ์ Sukhothai Thammathirat Open University Arjaree Meeintarakerd Mrrsidhi อาจารี มีอินทร์เกิด มีสิทธิ์ [email protected] [email protected] |
คำสำคัญ: | กฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ การกำกับดูแลสหกรณ์ อำนาจหน้าที่นายทะเบียนสหกรณ์ Cooperative Act Cooperative Regulation Power and Duties of the Cooperative Registrar |
วันที่เผยแพร่: | 24 |
สำนักพิมพ์: | Sukhothai Thammathirat Open University |
บทคัดย่อ: | This independent study has the following objectives : (1) to study the concepts and related theories and the powers and duties of the Cooperative Registrar in supervising cooperatives in Thailand, (2) to study the law related to the powers and duties of the Cooperative Registrar in supervising cooperatives in Thailand, Japan, and Korea, (3) to examine legal problems, analyze, and compare laws related to the powers and duties of the Cooperative Registrar in the supervision of cooperatives in Thailand, and (4) to suggest guidelines for amending the Cooperative Act B.E. 2542 and its amendments concerning authority of the Cooperative Registrar to supervise cooperatives in Thailand.This independent study primarily uses qualitative research through document analysis by comparing legal texts, research articles, and other documents from Thailand, Japan, and Korea to analyze legal problems regarding the powers and duties of the Cooperative Registrar in supervising cooperatives in Thailand and to recommend guidelines for amending and improving laws related to the Cooperative Registrar's power to supervise cooperatives more efficiently and appropriately.The study found that: (1) The concept of empowering the Cooperative Registrar to supervise cooperatives in Thailand is based on the government adopting cooperative principles as a policy to address economic problems for the nation and its people. The theoretical concept used by the state to enact laws on this matter is the concept of supervision and cooperative principles. (2) Laws related to the powers and duties of the Cooperative Registrar in supervising cooperatives in Thailand are found in the Cooperative Act B.E. 2542. In Japan, cooperative governance is addressed in the Agricultural Cooperatives Act of 1947, while in Korea, it is addressed in the Cooperatives Act of 2012. (3) The cooperative laws of Japan and Korea establish a minimum number of members required to submit a request for a cooperative inspection. The cooperative supervisory authority can only take measures if the cooperative has violate the law. In contrast, Thailand does not require a minimum number of members to request a cooperative inspection. The Cooperative Registrar has the authority to take any measures if it is believed that the actions of the Cooperative Executive Committee may cause disrepute to the cooperative or its members, regardless of whether the actions violate the law. (4) There should be an amendment to the Cooperative Act B.E. 2542 Section 18/1, to add the grounds for the Cooperative Registrar to order the Cooperative Inspector to inspect the cooperative, and Section 22, to clarify the grounds for the Cooperative Registrar to order the Cooperative Operations Committee to correct deficiencies. These amendments would benefit the regulation, supervision, and protection of the cooperative system. การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ ของนายทะเบียนสหกรณ์ในการกำกับดูแลสหกรณ์ในประเทศไทย (2) ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนสหกรณ์ในการกำกับดูแลสหกรณ์ในประเทศไทย ประเทศญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี (3) ศึกษาถึงปัญหาทางกฎหมายและวิเคราะเปรียบเทียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนสหกรณ์ในการกำกับดูแลสหกรณ์ในประเทศไทย (4) เสนอแนะ แนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนสหกรณ์ในการกำกับดูแลสหกรณ์ในประเทศไทยได้การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารเป็นหลัก โดยการศึกษาเปรียบเทียบ ตัวบทกฎหมาย บทความ งานวิจัย เอกสารอื่น ๆ ทั้งของประเทศไทย ประเทศญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี เพื่อนำมาวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนสหกรณ์ในการกำกับดูแลสหกรณ์ในประเทศไทย และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอำนาจกำกับดูแลสหกรณ์ของนายทะเบียนสหกรณ์ ให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสม ต่อไปผลการศึกษา พบว่า (1) แนวคิดในการให้อำนาจนายทะเบียนสหกรณ์ในการกำกับดูแลสหกรณ์ในประเทศไทยเกิดจากการที่รัฐได้นำหลักการสหกรณ์มาเป็นนโยบายแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจให้กับประเทศชาติและประชาชน และปรากฏแนวคิดทฤษฎีที่รัฐนำมาบัญญัติกฎหมายในประเด็นดังกล่าว คือ แนวคิดการกำกับดูแล และหลักการสหกรณ์ (2) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนสหกรณ์ในการกำกับดูแลสหกรณ์ในประเทศไทยปรากฏในพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ส่วนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลสหกรณ์ในประเทศญี่ปุ่นปรากฏในกฎหมายสหกรณ์การเกษตร ค.ศ. 1947 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลสหกรณ์ในสาธารณรัฐเกาหลีปรากฏในกรอบพระราชบัญญัติสหกรณ์ ค.ศ. 2012 (3) กฎหมายสหกรณ์ของประเทศญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลี ได้มีการกำหนดจำนวนสมาชิกขั้นต่ำในการทำหนังสือร้องขอให้ตรวจสอบสหกรณ์จากสมาชิก และผู้มีอำนาจกำกับดูแลสหกรณ์จะใช้มาตรการใด ๆ ได้ก็ต่อเมื่อสหกรณ์ได้กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายเท่านั้น แตกต่างจากประเทศไทย ที่ไม่มีการกำหนดจำนวนสมาชิกขั้นต่ำในการทำหนังสือร้องขอให้ตรวจสอบสหกรณ์จากสมาชิก และให้เป็นอำนาจของนายทะเบียนสหกรณ์ที่จะใช้มาตรการใด ๆ ได้ หากเห็นว่าการกระทำของคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์อาจทำให้เกิดความเสื่อมเสียของสหกรณ์หรือสมาชิก โดยไม่ต้องพิจารณาว่าการกระทำนั้นเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายหรือไม่ (4) ควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 18/1 โดยเพิ่มเติมมูลเหตุของการที่นายทะเบียนสหกรณ์จะใช้อำนาจสั่งการให้ผู้ตรวจการสหกรณ์เข้าตรวจสอบสหกรณ์ และมาตรา 22 โดยแก้ไขมูลเหตุของการที่นายทะเบียนสหกรณ์จะสั่งการให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์แก้ไขข้อบกพร่องให้เกิดความชัดเจน เพื่อประโยชน์ในการกำกับ ดูแล และคุ้มครองระบบสหกรณ์ให้ดียิ่งขึ้นต่อไป |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13488 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2654000559.pdf | 1.15 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น