กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13496
ชื่อเรื่อง: ปัญหาทางกฎหมายในการควบคุมการกระทำความผิดเกี่ยวกับการใช้ยานพาหนะบรรทุกน้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Legal problems of controlling offenses for using vehicles carrying a weight exceeding legal limit as provided by Laws on Highways
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อิงครัต ดลเจิม
ธีระ สิงพิมพ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
รถบรรทุก--น้ำหนัก--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
กฎหมายทางหลวง
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับ กฎหมายในการควบคุมการกระทำความผิดเกี่ยวกับการใช้ยานพาหนะบรรทุกน้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด (2) ศึกษามาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการกระทำความผิดเกี่ยวกับการใช้ยานพาหนะบรรทุกน้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดในกฎหมายของประเทศไทย ประเทศสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐฝรั่งเศส (3) วิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายในการควบคุมการกระทำความผิดเกี่ยวกับการใช้ยานพาหนะบรรทุกน้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด (4) เสนอแนะแนวทางแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายในการควบคุมการกระทำความผิดเกี่ยวกับการใช้ยานพาหนะบรรทุกน้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสาร จากการศึกษาค้นคว้าจากหนังสือ บทความ เอกสารทางวิชาการ ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เพื่อนำมาวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายในการควบคุมการกระทำความผิดเกี่ยวกับการใช้ยานพาหนะบรรทุกน้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมการกระทำความผิดการใช้ยานพาหนะบรรทุกน้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง ให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสม ต่อไป ผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิดในการใช้ถนนหลวงเกิดจากการที่รัฐมุ่งประสงค์การควบคุมการใช้ยานพาหนะให้เป็นไปตามอัตราที่กฎหมายกำหนดและปรากฏทฤษฎีที่รัฐนำมาใช้บัญญัติกฎหมายที่มีโทษทางอาญาในประเด็นดังกล่าว คือ ทฤษฎีความรับผิดทางอาญา และทฤษฎีการลงโทษทางอาญา (2) มาตราการทางกฎหมายของประเทศไทยปรากฏในพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549 ส่วนมาตรการทางกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา ในส่วนของกฎหมายรัฐบาลกลาง ปรากฏในกฎหมายรัฐบัญญัติการแก้ไขปัญหาการขนส่งภาคพื้นดิน และในมลรัฐฟลอลิดาปรากฏในกฎหมายการบริหารกิจการแห่งรัฐมลฟลอริดา และมลรัฐคลิฟอร์เนีย ปรากฏในกฎหมายเกี่ยวกับยานพาหนะของมลรัฐแคลิฟอร์เนีย และสาธารณรัฐฝรั่งเศสปรากฏในกฎหมาย ซึ่งเป็นมติคณะมนตรียุโรป ค.ศ.1996 และมติเพิ่มเติมรัฐสภายุโรปและคณะมนตรียุโรป ค.ศ.2015 (3) กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐฝรั่งเศส มีการกำหนดอัตราโทษฐานปรับบรรทุกน้ำหนักเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดสูงขึ้นตามลำดับน้ำหนักที่บรรทุกเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดและยังกำหนดอัตราเพดานค่าปรับอย่างสูงไว้ แตกต่างจากประเทศไทย ที่ไม่ได้ตรากฎหมายให้เป็นไปตามน้ำหนักที่บรรทุกได้และไม่มีการบัญญัติให้นายจ้างหรือผู้ประกอบการขนส่งและหรือเจ้าของสินค้าต้องรับผิดในการกระทำดังกล่าว (4) ควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติทางหลวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 มาตรา 73/2 โดยให้มีอัตราโทษปรับที่เหมาะสมและให้นายจ้างหรือผู้ประกอบการขนส่งและหรือเจ้าของสินค้าเข้ามาร่วมรับผิดกับผู้ขับรถบรรทุก รวมถึงมีการกำหนดเงินรางวัลค่าปรับให้แก่พนักงานผู้จับกุมและพนักงานสอบสวนเจ้าของคดีในอัตราที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกฎหมายต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13496
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2654001516.pdf2.38 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น