Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13505
Title: ปัญหาการคุ้มครองพยานเด็กในคดีค้ามนุษย์
Other Titles: Problems of protecting children witnesses in human trafficking cases
Authors: วรรณวิภา เมืองถ้ำ
เมทินี เอี่ยมสกุล
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
พยานเด็ก--การคุ้มครอง
การค้ามนุษย์--การสืบสวน
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หรือหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองพยานเด็ก รวมถึงมาตรการปกปิด มิให้เปิดเผยชื่อตัว ชื่อสกุล และที่อยู่ของพยาน และมาตรการพิเศษในคดีค้ามนุษย์ (2) ศึกษาเปรียบเทียบมาตรการในการคุ้มครองพยานเด็ก รวมถึงมาตรการปกปิด มิให้เปิดเผยชื่อตัว ชื่อสกุล และที่อยู่ของพยานและมาตรการพิเศษในคดีค้ามนุษย์ของประเทศไทย สหรัฐอเมริกา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และอังกฤษ (3) วิเคราะห์ปัญหาหลักเกณฑ์และมาตรการในการคุ้มครองพยานเด็กในคดีค้ามนุษย์ของประเทศไทย (4) จัดทำข้อเสนอแนะและแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาการคุ้มครองพยานเด็กในคดีค้ามนุษย์ของประเทศไทยการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร ซึ่งผู้ศึกษาได้ทำการ รวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องจาก หนังสือ ตำรา วิทยานิพนธ์ บทความทางวิชาการ งานวิจัย ตัวบทกฎหมาย และข้อมูลสารสนเทศทางอินเทอร์เน็ตทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองพยานเด็ก รวมถึงมาตรการปกปิด มิให้เปิดเผยชื่อตัว ชื่อสกุล และที่อยู่ของพยาน และมาตรการพิเศษอื่นในคดีค้ามนุษย์ของประเทศไทย สหรัฐอเมริกา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และอังกฤษผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิด ทฤษฎี หรือหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองพยานเด็กในคดีค้ามนุษย์ ยึดหลักการสิทธิมนุษยชนโดยมุ่งเน้นให้เด็กมีสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองจากการถูกละเมิด รวมถึงการคุ้มครองในกระบวนการยุติธรรม (2) มาตรการในการคุ้มครองพยานเด็กในคดีค้ามนุษย์ของประเทศไทยเมื่อเทียบกับ สหรัฐอเมริกา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และอังกฤษ ยังมีข้อจำกัดในการคุ้มครองพยานเด็กในคดีค้ามนุษย์ในเรื่องการบังคับใช้กฎหมายที่ยังไม่เข้มแข็งเพียงพอ การขาดแคลนทรัพยากรและบุคลากรที่เชี่ยวชาญ และการขาดมาตรการป้องกันความเครียดและความกลัว เมื่อเทียบกับประเทศอย่างสหรัฐอเมริกา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และอังกฤษที่มีระบบคุ้มครองพยานที่เข้มแข็งและมีมาตรการที่ครอบคลุมทุกด้าน (3) หลักเกณฑ์และมาตรการ ในการคุ้มครองพยานเด็ก รวมถึงมาตรการปกปิด มิให้เปิดเผยชื่อตัว ชื่อสกุล และที่อยู่ของพยาน และมาตรการอื่นในคดีค้ามนุษย์ของประเทศไทยยังมีข้อจำกัดตั้งแต่กระบวนการคุ้มครองสิทธิในชั้นสอบสวนที่ไม่ครอบคลุมในความผิด ค้ามนุษย์ รวมทั้งข้อจำกัดเกี่ยวกับการเบิกความของพยานเด็กในระหว่างขั้นตอนการสืบพยานบุคคลที่ต้องทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลยส่งผลให้เด็กไม่ได้รับความปลอดภัย (4) เสนอให้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 133 ทวิ พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ. 2559 พระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 มาตรา 36 และพระราชบัญญัติเจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ. 2562 มาตรา 5 ให้ครอบคลุมและมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13505
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2654001805.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.